ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการเสพติดดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก จำนวน 5 แห่ง 375 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก ในภาพรวมอยู่ในระดับคลั่งไคล้ และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ประกอบไปด้วย การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมการใช้ การรับรู้ความเพลิดเพลิน เจตคติต่อการใช้ และความตั้งใจในการใช้ จากการวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ค่าไค-สแควร์(c2) เท่ากับ 69.27 ที่องศาอิสระ(df) เท่ากับ 26 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (c2/df) เท่ากับ 2.66 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .96 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .92 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .97 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .06 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .06 และตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายประสิทธิผลในการทำงานได้ร้อยละ 39
Article Details
References
ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: บริษัทโพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.
นุชรีรัตน์ ขวัญคำ. (2550). รูปแบบการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาลักษณะทางประชากรที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตและพฤติกรรมการใช้ สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการรวมถึงศึกษารูปแบบ
การใช้สื่อของกลุ่มวัยรุ่น. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตรสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บงกช นักเสียง และคณะ. (2563). การติดสื่อสังคมออนไลน์ บุคลิกภาพห้าองค์ประกบอกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(2), 43-64.
ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 15-42.
Ajzen.I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organization Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.