รูปแบบ และเทคนิคการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับปรับพื้นฐาน ของนักศึกษาก่อนเข้าเรียนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและเทคนิคการเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ 2) สร้างคู่มือการเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ และ 3) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาก่อนเรียน-หลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ และ t-test ผลการศึกษารูปแบบและเทคนิคการเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ พบว่า การบูรณาการเทคนิคการสอนทั้ง 3 เทคนิคกับการปรับพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ จะสามารถทำให้นักศึกษาวิเคราะห์โจทย์แบบเป็นขั้นตอน (เทคนิค KWDL) สามารถแสดงวิธีแก้ปัญหา แสดงวิธีทำโจทย์โดยละเอียด พร้อมระบุจุดสังเกต ในการนำไปประยุกต์ใช้ (เทคนิควิธีการสอนแบบสาธิต) และสรุปรวบยอด ของการทำโจทย์ เพื่อนำไปประยุกต์ในการเรียนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (วิธีการสอนเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด) และจากเทคนิคดังกล่าว ผู้เขียนได้สร้างคู่มือการเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) แนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสร้างคู่มือวิชาทางคณิตศาสตร์ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (มี 5 ขั้นตอน ตามแนวคิด REUCA Model) และ 5) การวัดและประเมินผล โดยในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ จะเป็นการบูรณาการสอนโดยเทคนิค KWDL เทคนิควิธีการสอนแบบสาธิต วิธีการสอนเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด และมีลำดับขั้นตอนในการสอนตาม REUCA Model ได้แก่ ขั้นทบทวน ขั้นยกตัวอย่าง ขั้นทำความเข้าใจ ขั้นสร้างความรู้ และขั้นนำไปใช้ ผลการนำคู่มือไปใช้ปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีคะแนนทดสอบเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 45.37
Article Details
References
กิตติมา ปัทมาวิไล และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการให้เหตุผล การแก้ไขปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, 9(3), 377-391.
เกริกฤทธิ์ นิลอุบล และคณะ. (2563). การพัฒนาคู่มือครูการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานีเขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 182-196.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2560). โครงสร้างหลักสูตร. ใน หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). Child center เหมาะกับการเรียนการสอนแบบใด. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/ 68591/-teaartedu-teaart-teaarttea-
ไพรัชช์ เติมใจ. (2552). การศึกษาผลการปรับระดับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยการฝึกวิเคราะห์คำตอบ อภิปรายและสรุปผลร่วมกัน ของนักศึกษาปี 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
มัญฑนา ลาภยิ่งยง. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความคงทนของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารชุมชนวิจัย, 13(3), 44-56.
รำเพย สุทธินนท์. (2556). เทคนิคและวิธีการสอนคณิตศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤษภาคม 2564 จาก https://sornorramphoei.wordpress.com/2013/05/08
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Veridian E-Journal, 9(1), 356-368.
Shaw, Jean M. et al. (1997). Cooperative Problem Solving: Using K-W-D-L as an Organization Technique Retrieved. Retrieved February 23, 2019, from http://vnweb.hwwilsonweb.com/hww/results/results_single_ftPES