ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

Main Article Content

ปวีณา แซ่จู
เบญจพร โมกขะเวส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการ วัดค่าโดยใช้มูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการ วัดค่าโดยใช้อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการ วัดค่าโดยใช้อัตรากำไรต่อหุ้น (EPS) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2) สินค้าอุปโภคบริโภค 3) สินค้าอุตสาหกรรม 4) อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 5) ทรัพยากร 6) บริการ และ7) เทคโนโลยี จำนวน 115 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดแ ละค่าต่ำสุด และสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์วัดค่าโดยใช้มูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) คือ อัตรากำไรขั้นต้น และอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับมูลค่ากิจการที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ส่วนตัวแปรอื่นไม่พบความสัมพันธ์กับวัดค่าโดยใช้มูลค่ากิจการ 2) ความสัมพันธ์วัดค่าโดยใช้อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน และอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับมูลค่ากิจการที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นไม่พบความสัมพันธ์กับวัดค่าโดยใช้อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น และ 3) ความสัมพันธ์วัดค่าโดยใช้อัตรากำไรต่อหุ้น คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน และอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (TAT) มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับมูลค่ากิจการที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นไม่พบความสัมพันธ์กับวัดค่าโดยใช้อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น

Article Details

How to Cite
แซ่จู ป. ., & โมกขะเวส เ. . (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 15–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254262
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ผิวสะอาด และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬา นาครทรรศน์, 5(3), 791-808.

กานต์พลู ทิคำ. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินจากบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 268-283.

จริยา รอดจันทร์. (2563). การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจ ISO 14001 โดยใช้การบัญชี สิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมหาจุฬา นาครทรรศน์, 7(12), 142-159.

จิราภรณ์ ชูพูล. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาการเงิน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). รายชื่อบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2563 จาก www.set.or.th

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2563 จาก https://www.set.or.th /education/th/begin/stock_content04.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ปทุมวดี โบงูเหลือม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการ ของบริษัทที่เสนอขาย หลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพริน ใจทัด. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรและการกำกับดูแล. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณี เตโชโยธิน. (2557). การวิจัยสำรวจ: ข้อหารือปัญหาภาษีอากรเกี่ยวกับมาตรา 65 ตรี. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(1), 26-39.

ศจี ศรีสัตตบุตร. (2558). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย . ใน การประชุมทางวิชาการ "ศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ด้านตลาดการเงินไทย". มูลนิธิศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย.

สัณฑพงศ์ คล่องวีระชัย. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ หมวดธุรกิจหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2557). กฎหมายในการกำกับรัฐวิสาหกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2556 และแนวโน้มปี 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.