การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Microsoft teams เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และ ความคิดเห็นที่มีต่อการสอน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Microsoft teams เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนคณิตศาสตร์และความคิดเห็นที่มีต่อการสอน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 39 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง “ความน่าจะเป็น” โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Microsoft teams หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.67 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 18.87 คะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 60% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.87 คิดเป็นร้อยละ 75.48 ของคะแนนเต็ม และผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
Article Details
References
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID - 19. ครุสภาวิทยาจารย์, 11(2), 1-10.
นวลจันทร์ ผมอุดทา. (2545). ผลของการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิฌาวรรณ แช่มชื่นชมดง. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบ SSCS ร่วมกับการกระตุ้นโดยใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ค่าสถิติพื้นฐาน O - NET มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. เรียกใช้เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563 จาก www.onetresult.niets.or.th.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). การแถลงข่าวผลการประเมินในโครงการ PISA 2015. เรียกใช้เมื่อ 7 ธันวาคม 2563 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-8/
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริพร ทิพย์คง. (2536). เอกสารประกอบการสอนวิชาทฤษฎีและวิธีการสอนวิชาคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สุภาพร อ่อนนวม. (2563). ทำความรู้จักกับ MICROSOFT TEAMS. เรียกใช้เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563 จาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/index.php/topic/show/1361
อัมพร ม้าคนอง. (2547). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์:การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Markus, et al. (2012). Development of Edutainment Content for Elementary School Using Mobile Augmented Reality. Retrieved December 7, 2020, from http://www.ipcsit.com/vol39/003-D00016.pdf
Pizzini, E. L. et al. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education. Science Education, 73(5), 523-534.
Polya, G. (1957). HOW TO SOLVE IT. The United Stated of America: Princeton University Press.
World Economic Forum. (2020). 4 ways COVID - 19 could change how we educate future generations. Retrieved December 7, 2020, from https://www.weforum.orgagenda/2020/03/4-ways-covid-19-education-future-generations/