ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ปุญญาดา จงละเอียด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection)


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการณ์การปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้แก่ ด้านความรู้ทางวิชาชีพ ด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ด้านความรู้และความเข้าใจในกฎหมาย และด้านคุณค่า จริยธรรมและความเที่ยงธรรม

  2. การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้แก่ ด้านคุณภาพของผลงาน ด้านปริมาณของผลงาน ด้านการบริหารเวลา และด้านความพึงพอใจ และ

          3. ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้แก่ ด้านความรู้และความเข้าใจในงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่ทำงาน ด้านความมั่งคงก้าวหน้าในงาน และด้านขวัญและกำลังใจในการทำงาน จะเห็นได้ว่าการเพิ่มผลิตภาพที่มีคนเป็นศูนย์กลาง (Human–Centered Productivity) ถือว่าคนเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่จำกัดเพียงจำนวนหนึ่งเช่นเดียวกับ ทุน วัตถุดิบ เครื่องจักร ฯลฯ แต่คนมีความพิเศษและซับซ้อนมากกว่าเพราะคนมีทัศนคติ มีความคิด มีความสามารถที่ถูกนำเข้าไปปะปนให้มีผลต่อการทำงานจึงทำให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้ จากความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ แต่ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน ความแตกต่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เหมาะสม

Article Details

How to Cite
จงละเอียด ป. (2018). ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 1028–1043. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/162356
บท
บทความวิจัย

References

กลยุทธ์การบริหารบัญชีเพื่อธุรกิจก้าวไกลภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ. (2560). เข้าถึงได้จาก https://www.classifiedthai.com/content.php?article=3309.

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 5 กันยายน 2560 จาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=

นิศาชล หวานเปราะ. (2557). หลักธรรมาภิบาล และความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ลัดดา หิรัญยวา. (2555). นักการบัญชีไทยกับความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2560 จาก https://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/ 638/1/028-55.pdf

โสภาพรรณ ไชยพัฒน์ , อณาวุฒิ ชูทรัพย์ และสันธยา ดารารัตน์. (2555). ความคิดเห็นลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก https://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2554_Puket_Sopapun.pdf