รูปแบบการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทเชิงพุทธบูรณาการ: ศึกษาเฉพาะกรณีคดีครอบครัวศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทเชิงพุทธบูรณาการ: ศึกษาเฉพาะกรณีคดีครอบครัวศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องในการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และหลักพุทธธรรมของกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 3) เพื่อศึกษารูปแบบการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาชนและครอบครัวกลางในเชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดและทฤษฎีที่ว่า 1) ประสานคู่พิพาทมาพบปะเจรจาคืนดีเพื่อหาแนวทางในการยุติข้อพิพาท 2) อำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ย 3) เป็นสื่อกลางให้แก่คู่พิพาทได้เข้าใจตรงกัน 4) ประนอมข้อพิพาทเพื่อคู่พิพาทให้ตระหนักถึงประโยชน์ในการร่วมกันแก้ปัญหา 5) ดำเนินการและควบคุมกระบวนการไกล่เกลี่ยตามพฤติกรรมแห่งคดีตามที่เห็นเหมาะสม 6) บทบาทของคนกลางต่างจากผู้พิพากษาหรือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ 7) ช่วยในการทำสัญญาประนีประนอมเมื่อคู่พิพาทสามารถตกลงกันได้ ด้านปัญหาและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ยพบว่า เป็นปัญหาที่เกิดจากทิฐิมานะที่มุ่งเอาชนะกันอย่างเดียว ปัญหาที่เกิดจากการยุยงของคนรอบข้างที่ไม่ต้องการให้มีการประนีประนอม ตลอดจนถึงปัญหาจากบุคคลภายนอก เช่น ทนายความ หรือญาติที่มีอิทธิพลต่อคู่ความ ปัญหาเหล่านี้นับเป็นอุปสรรคส่งผลให้การไกล่เกลี่ยไม่ประสบความสำเร็จด้านรูปแบบการไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทของศาลเยาชนและครอบครัวกลางพบว่า หลักอคติ 4 หลักพรหมวิหาร 4 หลักสังคหวัตถุ 4 หลักอริยสัจจ 4 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการและขจัดอุปสรรคการไกล่เกลี่ย ส่งผลให้กระบวนการไกล่เกลี่ยประสบความสำเร็จได้
Article Details
References
ปรีชา อุปโยคิน. (ปีที่ 8 ฉบับที่ 3/2538). แนวการวิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 99-107.
ภาสุรี เอี่ยมทิม. (2548). ทัศนะของคู่สมรสในชุมชนเมืองต่อแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.(n.d.). (18 กุมภาพันธ์ 2560). รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว. เข้าถึงได้จาก http://www.violence.in.th/publicweb
สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. (2549). แนวทางปฎิบัติช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงในเครือข่ายระดับจังหวัด. นนทบุรี: พระธรรมขันธ์.
อภิญญา เวชยชัย. (2546). สภาวการณ์ของเด็กเยาวชนและครอบครัวและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.