รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการวัฒนธรรมดั้งเดิมชั้นเลิศของจีน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอหงเหอ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

BAI MIN
สายฝน แสนใจพรม
ชูชีพ พุทธประเสริฐ
ภูเบศ พวงแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการวัฒนธรรมดั้งเดิมชั้นเลิศของจีน และ 2) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้เป็นผู้บริหารและครูผู้สอนของอำเภอหงเหอ จำนวน 270 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 2) แบบตรวจ สอบรูปแบบ เป็นแบบตรวจสอบรายการ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 3) แบบประเมินรูปแบบและคู่มือการบริหารจัดการเรียนรู้ เป็นแบบแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหา และผลการประเมินรูปแบบ ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อนำมาจัดทำร่างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ฯ และวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจสอบรูปแบบ ด้วยความถี่และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการพัฒนารูปแบบประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การวางแผนการจัดการเรียนรู้(Plan) 2) การจัดการเรียนรู้/สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ (Do) 3) การวัด/ประเมินผลการเรียนรู้ (Check & Act) องค์ประกอบที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ คือ 1) เงื่อนไขภายใน และ 2) เงื่อนไขภายนอก ผลการตรวจสอบรูปแบบในด้านความถูกต้อง และความเหมาะสม พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความเห็นว่ารูปแบบมีความถูกต้องและเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินผลการประเมินของรูปแบบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 33 คน พบว่า มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์มากทุกด้าน

Article Details

How to Cite
MIN, B. ., แสนใจพรม ส. ., พุทธประเสริฐ ช., & พวงแก้ว ภ. . (2025). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการวัฒนธรรมดั้งเดิมชั้นเลิศของจีน ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอหงเหอ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 233–242. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286776
บท
บทความวิจัย

References

กชพร สีกาเรียน. (2567). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. ปัญญา, 31(1), 1-11.

ณฐพัฒน์ ถุงพลอย. (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 49-61.

ณัฐวุฒิ วินทะไชย และกฤตยากร ลดาวัลย์. (2567). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 8(1), 351-362.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานข้อมูลคณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน. (2565). เยาวชนจีนในยุคใหม่ สำนักข่าวซินหัว. เรียกใช้เมื่อ 21 เมษายน 2565 จาก https://english.www.gov.cn/archive/whitepaper/2022 04/21/content_WS6260cdc3c6d02e5335329bb1.html

สุชาติ ศรีหานารถ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(1), 364-374.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). London: Harper Collins Publishers.

Gao, S. (2019). Practical research on inheritance of excellent Chinese traditional culture by extracurricular activities in primary schools. In Master’s thesis. Shenyang University.

Li, Y. (2018). The dilemma and solution of Chinese excellent traditional culture education in primary school: A case study of X city in Henan Province. In Master’s thesis. Southwest University.

Xu, W. (2563). Research of the Diffusion of Traditional Chinese Culture in Thailand. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน, 7(2), 223-240.