การศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและอุดมการณ์ความหลากหลายทางเพศ ในการนําเสนอข่าวภาษาอังกฤษของสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศ

Main Article Content

บุษบา แฝงสาเคน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและอุดมการณ์ความหลากหลายทางเพศในการนำเสนอข่าวภาษาอังกฤษของสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกข้อมูลทางภาษาแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ภาษาอังกฤษจากพาดหัวข่าวของสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศที่มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 9 แหล่ง ได้แก่ TMZ, People, Variety, CNN, Mashable, E-online, Bet.com, Maxim และ The Hollywood reporter โดยได้กำหนดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2559 - 2563 ผลการศึกษา พบว่า วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมของสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบของการสื่อสาร มีดังนี้ ตัวบทหรือลักษณะการใช้ภาษาอังกฤษจากพาดหัวข่าวถูกสร้างโดยสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศ ซึ่งมีรูปแบบการสื่อสารข้อมูล โดยการกระจายข้อมูลข่าวสารในวงกว้าง จากนั้นสื่อสารไปยังผู้รับสาร ซึ่งหมายถึง บุคคลทุกเพศทุกวัยที่อ่านข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต สื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายในการสื่อสารไปยังผู้รับสาร 2 ด้าน ประกอบด้วย ความต้องการนำเสนอตัวตนของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และความต้องการนำเสนอความคิดของสังคมที่มีต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ อุดมการณ์ความคิดและความเชื่อของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศต่างมีความภาคภูมิใจในตัวตนของตนเอง และกลุ่มบุคคลที่มีเพศวิถีเดียวกันแต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศยังคงต้องการเรียกร้องสิทธิเพื่อความเสมอภาคทางเพศต่อไป เนื่องจากลักษณะการใช้ภาษาของพาดหัวข่าวสะท้อนมุมมองทางสังคมบางส่วนที่ยังคงมีการละเมิดสิทธิ และความเหลื่อมล้ำทางเพศ

Article Details

How to Cite
แฝงสาเคน บ. . (2025). การศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและอุดมการณ์ความหลากหลายทางเพศ ในการนําเสนอข่าวภาษาอังกฤษของสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(2), 304–314. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/285507
บท
บทความวิจัย

References

ธีระ บุษบกแก้ว. (2553). กลวิธีทางภาษากับการนำเสนออัตลักษณ์ของตนเองโดยกลุ่ม “เกย์ออนไลน์”. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษบา แฝงสาเคน. (2565). การศึกษากลวิธีทางภาษาและอุดมการณ์ความหลากหลายทางเพศในการนําเสนอข่าวภาษาอังกฤษของสื่อบันเทิงออนไลน์ต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(2), 89-102.

พริศรา แซ่ก้วย. (2547). เพศวิถี: วันวาน วันนี้ และวันพรุ่ง ที่จะไม่เหมือนเดิม. เชียงใหม่: ศูนย์สตรีนิยม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์.

พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ. (2551). เพศวิถีในสื่อนิยม: บริบทเสี่ยงและเสริมต่อสุขภาวะทางเพศ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.).

รุจน์ โกมลบุตร. (2548). การบรรยายเนื้อหาเรื่องเพศ (Sexuality) และเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (Safe sex) ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องเพศภาวะ เพศวิถีในประเทศไทย - ลาว. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุไลพร ชลวิไล และพิมพวัลย์ บุญมงคล. (2551). ภาษาเพศในสังคมไทย: อำนาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ. กรุงเทพมหานคร: ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านเพศสภาวะเพศวิถีและสุขภาพ.

Ayoub, P. M. (2018). How the Media Has Helped Change Public Views About Lesbian and Gay People. Retrieved January 1, 2021, from https://scholars.org/contribution/how-media-has-helped-change-public-views-about-lesbian-and-gay-people

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: the critical study of language. New York: Longman.

Hymes, D. (1974). Dell Hymes and the Ethnography of Communication. Retrieved January 15, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/41373609_Dell_Hymes_and_the_Ethnography_of_Communication

Tavits, M. & Perez, E. O. (2019). Language influences mass opinion toward gender and LGBT equality. Proceedings of the National Academy of Sciences, 116(34), 16781-16786.