ทัศนคติของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกงานของวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกงานของวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ 2) แนวทางในการปรับปรุงทักษะการฝึกงานของนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือสถานประกอบการที่นักศึกษาวิทยาลัยรัตภูมิฝึกงาน จำนวน 57 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ทัศนคติของผู้ประกอบการและความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีทัศนคติที่ดีต่อการฝึกงานของนักศึกษา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.72 สะท้อนถึงการประเมินในระดับมากในทุกด้าน ด้านความรู้ทางวิชาการวิชาชีพได้รับการประเมินสูงสุดที่ค่าเฉลี่ย 3.87 และด้านบุคลิกภาพได้รับค่าเฉลี่ย 3.86 ขณะที่ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพมีค่าเฉลี่ย 3.55 และด้านความรู้ทั่วไปที่ส่งผลต่อการทำงานมีค่าเฉลี่ย 3.63 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการมีทัศนคติเชิงบวกต่อนักศึกษา โดยเฉพาะในด้านความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง นอกจากนี้บุคลิกภาพของนักศึกษายังได้รับการชื่นชมซึ่งอาจเป็นผลมาจากการส่งเสริมในระหว่างการศึกษา อย่างไรก็ตามด้านความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการทำงานยังคงเป็นจุดที่สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน การศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงหลักสูตรและการฝึกอบรมให้ครอบคลุมทั้งความรู้เชิงวิชาการและวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญภร เอี่ยมพญา. (2561). การพัฒนาวิชาชีพครู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: เซ็นจูรี่ จำกัด.
จันทร์เมธา ศรีรักษา และเมทินี วงศ์ธราวัฒน์. (2560). ความคาดหวังและการรับรู้เกี่ยวกับการฝึกงานด้านธุรกิจการบิน: กรณีศึกษานิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
จารุณี อินต๊ะสอน. (2562). ทัศนคติด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษา ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ทรงเกียรติ อิงคามระธร และชฎาพร โพคัยสวรรค์. (2562). คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คุณลักษณะของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ และการดำเนินการด้านสุนทรียภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสาร วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 11(2), 25-31.
ปณัสยา พิมพ์กลาง. (2562). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ . ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พิงค์ฒิฉัตร เมธาธารณ์กุล และอำนวย ทอง โปร่ง. (2567). ความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการ สื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ส พบ ท.), 6(1), 232-248.
พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
วรงค์ ปวราจารย์. (2552). การพัฒนาศักยภาพในการวิจัยระดับปริญญาตรีด้วยการฝึกงานเทคโนโลยีสะอาด. ใน รายงานวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 48–55.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
สุรางค์ อภิรมย์วิไลชัย และคณะ. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกงานของนักเรียนอาชีวศึกษาแบบค่ายกิจกรรมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, 8(1), 71-78.
อติพร เกิดเรือง และคณะ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 6(1), 781-790.