การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) หลักปัญญา 3 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) วิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระภิกษุและประชาชนในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การพัฒนาความสัมพันธ์ของปัญญามนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งด้านกาย จิตใจ และปัญญา ด้วยกรอบแห่งการพัฒนา คือ การพัฒนาตนเองให้มีสติและไม่ประมาท อยู่ในระเบียบข้อประพฤติที่ดีงามของสังคม อบรมจิตให้ผ่องใส และพัฒนาปัญญาให้เป็นผู้มีเหตุผล เพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข 2) ปัญญา 3 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ จินตามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา) สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟังศึกษา) และภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฝึกอบรมตน) การนำหลักปัญญา 3 มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตจะทำให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตตามเป้าหมายและบรรลุผลสำเร็จที่ต้องการ และ 3) ผลการวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้ประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต การคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล การฟังจากการศึกษาเพื่อการดำเนินชีวิต การมีสติในชีวิตประจำวัน และการฝึกอบรมตนเพื่อพัฒนาจิตใจ ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความสุขและรู้ถึงวิธีการสร้างความสุขและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
พระครูธรรมธรสุริยา อาภาโค. (25 มิ.ย. 2567). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (พระภูวดล จนฺทสาโร (ปานนุ้ย), ผู้สัมภาษณ์)
พระปลัดวิริทธิ์พล อายุวฒฺโก. (26 มิ.ย. 2567). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (พระภูวดล จนฺทสาโร (ปานนุ้ย), ผู้สัมภาษณ์)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). หนังสือธรรมะ. ลำปาง: เมืองปานการพิมพ์.
พระมหาทัพยา ปิยวณฺโณ (แจ่มจำรัส). (2565). “กระบวนการพัฒนาปัญญาตามหลักวุฑฒิธรรม”. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อรทัย วลีวงศ์. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ในเอกสารการประชุม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) องค์การอนามัยโลก.
อุดมศักดิ์ ณรงค์. (28 มิ.ย. 2567). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (พระภูวดล จนฺทสาโร (ปานนุ้ย), ผู้สัมภาษณ์)