การส่งเสริมระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการส่งเสริมระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล และ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและอนุมานเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพฯ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการส่งเสริมฯ จำแนกตามเพศไม่พบความแตกต่าง แต่เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการส่งเสริมฯ มี 5 แนวทาง ได้แก่ 3.1) การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถานศึกษา บูรณาการการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสในการกำหนดนโยบายและดำเนินงาน 3.2) การยกระดับสมรรถนะวิชาชีพและพัฒนาศักยภาพบุคลากร เน้นการฝึกอบรม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการยกย่องบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นเพื่อสร้างแรงจูงใจ 3.3) การบริหารจัดการทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ตามวงจร PDCA 3.4) การบริหารจัดการด้านวิชาการเชิงรุกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3.5) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา มีแผนจัดการที่ชัดเจน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยาณี สีลารักษ์ และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 53-67.
จิรัฏฐิกานต์ จันทร์แทน และคณะ. (2564). ธรรมาภิบาลหัวใจของการบริหารสถานศึกษายุคนิวนอร์มัล. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(2), 1-10.
จุรีรัตน์ สุดใจ. (2557). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลตามทัศนะของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(2), 61-69.
นิตติยา เกื้อทาน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรียากร พยุงตน. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียน ในเครือข่ายที่ 43 สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(2), 1-14.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก หน้า 1. (6 กรกฎาคม 2546).
มณีรัตน์ จันทรา และคณะ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(12), 120-129.
สัญญา เคณาภูมิ. (2559). กระบวนทัศน์ธรรมาภิบาล: กรอบแนวคิดทางการบริหารการปกครอง. วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 4(1), 217-248.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2566). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.