กรณีศึกษา: ความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เพื่อการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรสี่ปี) สาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

วุฒิชัย กันนุฬา
ธนภร วัฒนนวลสกุล
วิศรุต ศรีวรมย์
พรพรรณ น้ำค้าง
พัชชลัยย์ อนุไชยวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรจัดการเรียนการสอนและจัดทำการสำรวจความต้องการคุณภาพของบัณฑิต ในแต่ละระดับคุณวุฒิให้มีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่มีความสนใจศึกษาต่อและผู้ใช้บัณฑิตนั้น อย่างไรก็ตามคุณภาพของบัณฑิตมีความสำคัญต่อสถาบัน อุดมศึกษาจะทำให้สามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาได้อย่างไร ดังนั้น ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสำรวจความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมในปัจจุบัน อนาคต และเป็นแนวทางการพัฒนานักศึกษาเป็นที่ยอมรับในวงการการอุดมศึกษาโดยทั่วไป บทความนี้จะนำเสนอในประเด็น ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจความต้องการการให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) เพื่อสำรวจความต้องการให้ครูของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรสี่ปี) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม มีคุณลักษณะอย่างไร 3) เพื่อสอบถามบัณฑิตของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรสี่ปี) ควรมีสมรรถนะวิชาชีพครู ในระดับใด ตามขอบเขตของสมรรถนะวิชาชีพครู การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 512 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการสำรวจความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตนั้น พบว่า บัณฑิตควรมีลักษณะเด่นมากที่สุด คือ ด้านจิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตที่เป็นไปตามความต้องการของพันธกิจมุ่งผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีจิตวิญญาณความเป็นครูและจิตสำนึกที่ดีงามตามปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Article Details

How to Cite
กันนุฬา . ว. ., วัฒนนวลสกุล ธ. ., ศรีวรมย์ ว., น้ำค้าง พ. ., & อนุไชยวงค์ พ. . (2024). กรณีศึกษา: ความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เพื่อการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรสี่ปี) สาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(9), 211–221. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/280553
บท
บทความวิจัย

References

ชูใจ คูหารัตนไชย และสุจิตรา สุคนธมัต. (2563). ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับผลการเรียนในชั้นปีที่ 1 ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 29(2), 1-15.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: พรอพเพอร์ ตี้พริ้นท์.

สภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎ. (2566). หมวดวิชาชีพครู (ฉบับปี พ.ศ 2566). มหาวิทยาลัยราชภัฎ. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2567 จาก https://online.anyflip.com/teiyc/uvdm/mobile/index.html

สมหมาย ปวะบุตรและคณะ. (2558). คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครู. ใน เอกสารประกอบการสอน ชุดวิชาการพัฒนาความเป็นครูวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สรรค์ธวัฒน์ สมป้อม และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาการดําเนินงานโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายดอยเต่าสหศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(8), 48-58.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2567). มหาวิทยาลัยไทยเจอปัญหาขาดคนเรียน ผู้เชี่ยวชาญชี้อัตราเกิดต่ำเป็นเหตุ. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.infoquest.co.th/2023/313112

สุธิดา ทองคำและคณะ. (2563). ศึกษาเรื่องคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์สาขาวิชา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิต ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (หน้า 1-10).

สุไบซะ จำนงลักษณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบรูณ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุพิชญา โคทวี. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมจิต วิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนันษา ทองเหลา. (2565). การศึกษาแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารนวัตกรรมและวัฒนธรรมองค์การ, 13(2), 32-43.