การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรัง โดยแรงสนับสนุนทางสังคม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การป้องกันโรคไตเรื้อรัง สร้างรูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรัง ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 กลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง ใช้สูตรคำนวนเท่ากับ 490 คน กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข 16 คน กลุ่มผู้รับบริการ 12 คน ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์กำหนด ระยะที่ 2 พยาบาลวิชาชีพ 13 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์กำหนด ระยะที่ 3 กลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง โดยใช้โปรแกรม G*power 70 คน เครื่องมืองานวิจัย ประกอบไปด้วย แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.87 ค่าความเชื่อมั่นโดยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.85 สถิติวิเคราะห์ผลการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประเด็นและสถิติทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ต้องประกอบไปด้วยการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มผู้รับบริการ และภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน ควรมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนที่ครอบคลุม และเป็นระบบ ทั้งในด้านอารมณ์ ข้อมูลข่าวสาร เครื่องมือ และการประเมินผล ซึ่งช่วยให้การป้องกันโรค มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถลดความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังได้ในระยะยาว ภายหลังการวิจัยระยะที่ 3 พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ ระดับเกลือโซเดียมในอาหาร และความดันโลหิต ของกลุ่มทดลองที่ได้รับ การดูแลโดยใช้รูปแบบการป้องกันโรคไตเรื้อรัง โดยแรงสนับสนุนทางสังคม แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์. (2550). โรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลบึงกาฬ. สรรพสิทธิเวชสาร, 28(34), 109-121.
กัญญา เกษรพิกุล และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนการมีส่วนร่วมของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 181-196.
คณิตตา อินทบุตร. (2564). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิชาการ สคร, 26(1), 73-83.
จิตรา ธำรงชัยชนะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 6(2), 23-29.
บังอรศรี จินดาวงค์ และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2564). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัย มข, 21(1), 229-241.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ประเทศไทยประจำปีงบประมาณ 2560. เรียกใช้เมื่อ 6 มีนาคม 2566 จาก https://e-library.nhso.go.th/view/1/detail_ebook/188/TH-TH
อัจฉรา ขันธสนธิ์ และคณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการควบคุมความดันโลหิตสูงและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 225-237.
Daniel, G. (1995). Basic Concepts and Models for Interpreter and Translator Training, Amsterdam/ Philadelphia, John Benjamins. Journal des traducteurs Translators' Journal, 43(2), 1-7.
GBD Chronic Kidney Disease Collaboration. (2017). The impact of chronic kidney disease on global health. Retrieved March 6, 2023, from https://www.nature.com/articles/s41581-020-0268-7
House, J. S. (1981). Work stress and social support. United States of America: Addison-Wesley.
Luyckx, V. A. et al. (2018). The global burden of kidney disease and the sustainable development goals. Bulletin of the World Health Organization, 96(6), 414–422.
Manns, B. et al. (2019). The Cost of Care for People With Chronic Kidney Disease. Canadian Journal of Kidney Health and Disease, 6(2019), 1-11.