ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีประมวลสารสนเทศ และการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนาม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว
เรขา อรัญวงศ์
นิติกร อ่อนโยน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีประมวลสารสนเทศและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามของนักศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีประมวลสารสนเทศและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 14 คน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบทดสอบสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ผลการประเมินแบบทดสอบอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.54, S.D. = .55) และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ 2) แบบประเมินสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง .05 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินของทั้งฉบับ คือ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบทีและวิเคราะห์หาความแปรปรวนแบบมีหนึ่งตัวประกอบแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลการพัฒนาการสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามจากการวัดซ้ำ 3 ครั้งมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

How to Cite
บิ๊ก ถาว เ. ถ. ., อรัญวงศ์ เ. ., & อ่อนโยน น. . (2024). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีประมวลสารสนเทศ และการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนาม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(9), 110–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279823
บท
บทความวิจัย

References

เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการทฤษฎีประมวลสารสนเทศและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(9), 184-200.

ธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟัง - พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

นงลักษณ์ แพงเรือน. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูลตามแนวคิดฐานสมรรถนะ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทัยรัตน์ ศรีพวงมาลัย. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

หริศักดิ์ พลตรี. (2558). ผลการใช้รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานและสาระท้องถิ่นต่อความสามารถการฟัง - พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

เหงียน ถิ ทู แถ่น. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาเวียดนามของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เหงียน ถิ เหลียว. (2563). การศึกษาความสามารถในการสื่อสารภาษาเวียดนามเบื้องต้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบเกมทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.

Eggen, P. & Kauchak, D. (2001). Educational Psychology windows on classrooms. (5th ed). New Jersey: Publisher Merrill Prentice Hall.

Klausmeire, H. J. (1985). Educational Psychology. (5th ed). New York: Harper & Row.

Lave, J. & Wenger, E. (1991). Situated Learning: Legitimate Peripheral Participation. Cambridge: Cambridge University Press.

Sitti, N. (2015). Improving listening skill by activating students’ prior knowledge. English Teaching Learning and Research Journal, 1(1), 28-38.