การพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

จริยา ยอมิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบล ในจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (𝑥̅ = 3.62, S.D. = 0.45) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ การเกษตร สินค้าและผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว (𝑥̅ = 3.37, S.D. = 0.44) 2) การพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนมนุษย์การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ทุนสถาบัน การลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ การผลักดันด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ และการพัฒนาความรู้ ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล ในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีในจังหวัดเพชรบูรณ์

Article Details

How to Cite
ยอมิน จ. (2024). การพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 237–248. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279576
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จันทร์เพ็ญ เอี่ยมอำภา. (2564). ทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ชัยยุทธ เล่าเรียนธรรม. (2564). การบริหารต้นทุนมนุษย์กับหลักการบริหารจัดการที่ดีที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครปฐม. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

นิสรา ใจซื่อ และจรูญศรี มาดิลกโกวิท. (2567). รูปแบบการเรียนรู้บนฐานทุนทางสังคมเพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(1), 1-18.

สมพาณร์ วงษ์จู. (2564). ทุนทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 446-459.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). กรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf

สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). ประกาศจำนวนประชากรปี 2566-2542. เรียกใช้เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_65.pdf

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2566 จาก https://www.phetchabunpao.go.th/plan/images/Document/PAO-PLAN-2561-2565.pdf

Bateman, S. T. & Snell, A. S. (2009). Management: Leading & Collaborating in a Competitive World. (8th edition). Boston: McGraw Hill.

Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In Richardson, J. G. (Ed.), Handbook of theory and research for the sociology of education (pp. 241-258). New York: Greenwood Press.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper&Collins.

Fukuyama, F. (2001). Social capital: The missing link in economic development. Washington, DC: World Bank.

Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Putnam, R. D. (2000). Bowling alone: The collapse and revival of American community. New York: Simon & Schuster.

Thomas, R. J. et al. (2003). The Accenture Human Capital Development Framework: Assessing. Measuring and Guiding Investments in Human Capital to Achieve High-performance, Human Capital Development. Retrieved September 21, 2023, from https://www.mbadepot.com/the-accenture-human-capital-development-framework-assessing-measuring-and-guiding-investments-in-human-capital-to-achieve-high-performance/

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.