การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล บ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว และ 2) แนวทางการส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว จำนวน 322 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว เลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวม 15 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยด้านร่างกายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านจิตใจ ส่วนด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดตามลำดับ และ 2) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว ด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ เจ้าหน้าที่ออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเป็นประจำ มีสถานที่ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพียงพอ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ด้านจิตใจ ได้แก่ อบต. จัดเจ้าหน้าที่ให้ค่าปรึกษาด้านสุขภาพ จิตใจและความเครียด สนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวนอกพื้นที่แก่ผู้สูงอายุ อบต. จัดให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุภายในชุมชน และน้อยที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ อบต. ได้สนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมและจัดตั้งชมรวม เช่น ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ชมรมญาติธรรม ชมรมผู้สูงวัย เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://stat.bora.dopa.go.th1
กรมอนามัย. (2558). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2566 จาก https://laws.anamai.moph.go.th/th/doh-annuance/204315
ธันย์นิชา พิภูสินอัครชัย. (2553). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธิฆัมพร อุทัยฉาย. (2559). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลลำพันชาด อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐาประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สมปอง สุวรรณภูมา. (2564). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(2), 220-232.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศ ไทย. วารสารเทคโนโลยี ภาคใต้, 7(1), 73-81.
สุมาลี ทองตะลุง. (2553). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก จังหวัดนครสวรรค์. ใน รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว. (2566). ข้อมูล อบต. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/238
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1978). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.