พหุวัฒนธรรม: พลวัตของย่านชุมชนเก่าสู่การออกแบบเส้นทางวัฒนธรรมผ่านสื่อ เพื่อการเรียนรู้คุณค่าวิถีชุมชน กรณีศึกษาย่านบางโพ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มนินทรา ทุมโฆสิต
อนุชา แพ่งเกษร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และพัฒนาการความเป็นมาของย่านบางโพ เพื่อให้เข้าใจคุณค่าของย่าน 2) เพื่อศึกษาสภาพสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อให้เข้าใจสังคมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในย่านบางโพ 3) เพื่อออกแบบเส้นทางวัฒนธรรมนำเสนอผ่านสื่อที่เหมาะกับบริบทปัจจุบันและต่อยอดสู่นโยบาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนเอกสารและการใช้เครื่องมือคือการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านบางโพ ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง นักวิชาการ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า คุณค่าทางวัฒนธรรมของย่านบางโพ ได้แก่ องค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของย่านบางโพ คือ เส้นทางสัญจร (Path) ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะของสังคมเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีการอยู่ร่วมกันของชนชาติต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งทำให้ย่านบางโพมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่เป็นอัตลักษณ์จนถึงปัจจุบันสะท้อนผ่าน อาหาร ความเชื่อ และงานช่างไม้ แนวทาง การอนุรักษ์ คือ การนำเสนอคุณค่าในรูปแบบแหล่งทางเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จากการวิจัย พบว่า แนวการพัฒนาสื่อควรนำเสนอเรื่องราวคุณค่าทางวัฒนธรรมในรูปแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมและเส้นทางอัตลักษณ์พหุวัฒนธรรมย่านบางโพ โดยใช้แผ่นพับและสื่อมัลติมีเดีย ประกอบด้วย 4 กระบวนการ MAPS model ซึ่งประกอบด้วย 1) Multicultural routes: ออกแบบแผนที่ชุมชน 2) Activity: การสร้างกิจกรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) Public relation: การประชาสัมพันธ์ 4) Story telling: การนำเสนอเรื่องเล่าจากความทรงจำเป็นประสบการณ์ เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
ทุมโฆสิต ม., & แพ่งเกษร อ. (2024). พหุวัฒนธรรม: พลวัตของย่านชุมชนเก่าสู่การออกแบบเส้นทางวัฒนธรรมผ่านสื่อ เพื่อการเรียนรู้คุณค่าวิถีชุมชน กรณีศึกษาย่านบางโพ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 130–139. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/278931
บท
บทความวิจัย

References

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2547). วาทกรรมของเมืองผ่านโครงสร้างเชิงสัณฐาน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, 2(2547), 63-76.

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2566). นิทรรศการผลงานประจำปี 2566 SILPA Creative Works Exhibition 2023. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2536). การตั้งถิ่นฐานทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี กล่ำส้ม. (2549). ย่านเก่าในกรุงเทพฯ. เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ. (2558). แผนการอนุรักษ์เส้นทางวัฒนธรรมคลองบางลำพู. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ. (2561). ย่านชุมชนเก่าในกรุงเทพฯ: นิยามและบทบาทในการจัดการมรดกวัฒนธรรม การถอดบทเรียนจากย่านบางลำภู-บ้านพานถม. กรุงเทพมหานคร: ปาป้า พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). การศึกษาสังคมไทยผ่านภูมิวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2567 จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=84

ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อนฤมิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณสา ฉิมพาลี และกฤตพร ห้าวเจริญ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(2), 109-127.

Norberg-Schulz, C. (1984). The concept of dwelling: on the way to figurative architecture. New York: Rizzoli International Publication.

Tumkosit, M. (2566). พหุวัฒนธรรมย่านบางโพจากสายน้ำสู่สายไม้. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2567 จาก https://www.youtube.com/watch?v=3SUlguGkjjM