แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียนพื้นที่สูง กลุ่มโรงเรียนขุนยวม-แม่เงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพื้นที่สูง และ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพื้นที่สูง โดยการวิจัยแบบผสม แบ่งการวิจัยเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และชั้นหาแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนขุนยวม-แม่เงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 101 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติกำหนด เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.71, S.D. = 0.14) เรียงจากสูงไปหาต่ำ คือ ความรับผิดชอบทางการบริหาร ประชารัฐ ค่านิยมประชาธิปไตย การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง ตามลำดับ ปัญหา คือ การมอบหมายงานไม่ชัดเจน ไม่ปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัยสอดคล้องกับปัจจุบัน ไม่ให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมจัดการศึกษา การบริหารตามหลักประชาธิปไตยไม่ต่อเนื่องและไม่นำดิจิทัลมาใช้พัฒนาข้อมูลอย่างทั่วถึง ตามลำดับ แนวทางการพัฒนา ควรกำหนด ให้มีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานและอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ กำหนดโครงสร้างบริหารงานเพื่อการสู่เป้าหมายความสำเร็จที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์การปฏิบัติงาน มีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการบริหารสถานศึกษาและมีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยแก่บุคลากรอยู่เสมอ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลสัณห์ ศรียารัณย. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในยุคระบบราชการ 4.0 องค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านหลวง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กัลยารัตน์ มั่นสัตย์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
จันทร์วิภา จำนงการ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
จุฑากาญจ์ เก่งกสิกิต. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตธรรมจักรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญรดี สาระดวงขวัญ. (2563). การนำแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ไปใช้ในกรมสรรพสามิตกระทรวงการคลัง. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รินทร์ภัส วุฒิปรีชาสิทธิ์. (2562). แนวทางพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570). แม่ฮ่องสอน: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: พรีเมียร์โปร.
อำนาจ เผือกบริสุทธิ์. (2560). หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนบางเสาธง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.