ปัญหาสิทธิความเสมอภาคการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคของไทย

Main Article Content

สมชัย ทรัพย์ศิริผล
มัทยา จิตติรัตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคทางกฎหมายในการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคของไทย 2) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษามาตรการในทางกฎหมายเกี่ยวกับคดีวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์เชิงคุณภาพค้นคว้าและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ รวมทั้งบทบัญญัติของกฎหมาย พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาสิทธิความเสมอภาคการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคของไทยองค์กรที่จะดำเนินคดีแทนผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มีได้เฉพาะคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ส่วนพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มีองค์กรที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมาย
ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค จะเห็นได้ว่ากฎหมายทั้งสองฉบับ มีปัญหาขัดแย้งตามข้อกฎหมาย 2) สิทธิของผู้บริโภคเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจำนวนมาก การฟ้องคดีบริโภคของไทยยังอยู่ในลักษณะคดีที่ผู้เสียหาย ต่างคนต่างฟ้องได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวความคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีจำนวนจำกัด คำพิพากษาของศาลในแต่ละคดีอาจทำให้ผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่ได้ฟ้องคดีลดลง 3) แนวทาง พบว่า ผู้บริโภคจะต้องดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเอง จึงมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยาก
เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาอย่างรวดเร็ว ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์
ของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค

Article Details

How to Cite
ทรัพย์ศิริผล ส., & จิตติรัตย์ ม. (2024). ปัญหาสิทธิความเสมอภาคการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคของไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(5), 1–9. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/277597
บท
บทความวิจัย

References

กุลพล พลวัน. (2558). พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย. (2545). คําอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ภาค 1 ถึง ภาค 3). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2543). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และสุธีร์ ศุภนิตย์. (2541). การคุ้มครองผู้บริโภคฝ่ายการวิจัยเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์.

ปรัชญา อยู่ประเสริฐ. (2551). การไกล่เกลี่ยในประเทศออสเตรเลีย กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท ศูนย์วิทยาการระงับข้อพิพาททางเลือก สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาล ยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพลส จํากัด.

ภูริชญา วัฒนรุ่ง. (2544). หลักกฎหมายมหาชน (Principles of Public Law). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วิชช์ จีระแพทย์. (2523). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรชัย อำนวย. (2560). หลักความเสมอภาคกับกรณีสิทธิการฟ้องคดีของผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551. ใน การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรัณย์ ศรัณยสุนทร. (2559). วิธีพิจารณาคุ้มครองผู้บริโภคทางแพ่งในชั้นศาล. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุษม ศุภนิตย์. (2548). คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2548). หลักกฎหมายอาญา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.