การเปิดรับสื่อโฆษณาออนไลน์ ทัศนคติต่อทูตตราสินค้า และภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์ซีลีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับ
สื่อโฆษณาออนไลน์ที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นทูตตราสินค้า 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ
สื่อโฆษณาออนไลน์กับความตั้งใจซื้อสินค้า 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อทูตตราสินค้ากับ
ความตั้งใจซื้อสินค้า 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อสินค้า
5) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับสื่อโฆษณาออนไลน์ ทัศนคติที่มีต่อทูตตราสินค้า และภาพลักษณ์ของตราสินค้าต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์ซีลีน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มีความสนใจในสินค้าแบรนด์เนมและเคยเห็นภาพ ลิซ่า แบล็คพิ้งค์ กับสินค้าแบรนด์ซีลีนบนสื่อออนไลน์ และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สถิติ เชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสถิติสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะประชากรจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการเปิดรับสื่อโฆษณาออนไลน์แตกต่างกัน 2) การเปิดรับ
สื่อโฆษณาออนไลน์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อสินค้าสินค้า 3) ทัศนคติที่มีต่อทูตตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อสินค้าสินค้า 4) ภาพลักษณ์ของตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อสินค้าสินค้า 5) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า การเปิดรับสื่อโฆษณาออนไลน์ และภาพลักษณ์ของตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์. (2560). อิทธิพลของการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านอินสตาแกรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
โทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). สำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2567 จาก https://www.nbtc.go.th/News/Information/39402.aspx
ธารารัตน์ ภู่มาลี. (2565). ความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพของผู้บริโภคและบุคลิกภาพแบรนด์แฟชั่นระดับไฮเอนด์. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัสสรนันท์ อเนกธรรมกุล. (2554). ผลกระทบจากการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Celebrity) ที่เป็นผู้นำเสนอสินค้าหลากหลายตราสินค้าในงานโฆษณา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลงทุนเกิร์ล. (2566). อัปเดต CELINE ประเทศไทย ปี 2565 รายได้ 2,014 ล้าน กำไรโต 600%. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2566 จาก https://www.longtungirl.com/11394
วิชญ์ชยา ฐิติจิรวิชญ์. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมความงาม. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศศิมา อุดมศิลป์. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดโดยใช้ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ในธุรกิจร้านอาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สตะเวทิน ปรมะ. (2546). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา วิสารทกุล. (2562). การศึกษาหาคุณลักษณะที่นำไปสู่คุณค่าจากการบริโภคกระเป๋าลักซ์ชั่วรี่แบรนด์มือหนึ่งตามทฤษฎี Means-end. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
Atkin, C. K. (1973). New model for mass communication research. New York: Free Press.
Keller, K. L. (1993). Conceptualizing, measuring and managing customer-based equity. Journal of Marketing. Journal of Marketing, 57(1), 1 - 22.
Nagashima, A. (2017). A comparison of Japanese and U.S. attitudes toward foreign Products. Journal of Marketing, (34),1, 68 - 74.