พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ มีเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง การควบคุมโรคความดันโลหิต และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยคนไทย ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเกาะสมุย สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และยินดีเข้าร่วมในการศึกษาวิจัย จำนวน 380 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลการรักษาพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ถึง 15 มกราคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 82.1 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 10.8 และ 7.1 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดีและต่ำ ตามลำดับ ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 21.3 ทั้งนี้ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (r = 0.284) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = 0.367) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในระดับต่ำ และปานกลาง ตามลำดับ ส่วนอายุ ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิต ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง จากผลการศึกษา ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ถูกต้อง ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารโรคความดันโลหิตสูง และสนับสนุนครอบครัวช่วยดูแลผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
มีเพียร จ. . (2024). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(2), 299–310. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275233
บท
บทความวิจัย

References

ฐิติรัตน์ ศิริพิบูลย์. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการควบคุมความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.

ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. (2566). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ “รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ. เรียกใช้เมื่อ 22 ตุลาคม 2566 จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/182186

ประพนธ์ ดิษฐ์รุ่งโรจน์. (2560). ปรับพฤติกรรม ลดความดันโลหิต. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail

พิชิตศักดิ์ จำปาเงิน. (2565). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโค้งบ่อแร่. สุพรรณบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโค้งบ่อแร่.

ภฤดา แสงสินศร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 2(2), 43-54.

รักชนก จันทร์เพ็ญ. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(2), 20-30.

โรงพยาบาลเกาะสมุย. (2566). สถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะสมุย. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลเกาะสมุย.

ศิริรักษ์ เกียรติเฉลิมพร. (2566). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่. กระบี่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่.

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. (2563). การประชุมวิชาการชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 เรื่อง “ความดันโลหิตสูง: สิ่งที่น่ารู้และต้องรู้”. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2566 จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=3115

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก http:/www.dms.moph.go.th/imrta/images/data/doc_dm_ht.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2563). การประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 18 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก http://thaihypertension.org/files/452_1.Thai%20Hypertension%20Conference%202020.pdf

เสงี่ยม จิ๋วประดิษฐ์กุล. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 15-30.

เสาวนีย์ ลาเสือ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านตันหยงเปาว์ ตําบลท่ากําชํา อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 5(1): 111-120.

อัมภากร หาญณรงค์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 52-65.

Adam Wondmieneh, et al. (2021). Self-Care Practice and Associated Factors among Hypertensive Patients in Ethiopia: A Systematic Review and MetaAnalysis. International Journal of Hypertension, 2021(11), 1-16.

American Heart Association. (2017). Hypertension: Ten ways to control your blood pressure. Retrieved March 8, 2023, from http://www.americanheart.org/presenten

Bloom, B. S. (1999). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive domain. New York: David Mc Kay.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning an educational and ecological approach. New York: Quebecor World Fairfield.

Moh Rozani. (2019). Self-care and Related Factors in Hypertensive Patients: a Literature Review. Dinamika Kesehatan Jurnal, 10(1), 266-276.

Pender P. J. (1996). Health Promotion in nursing practice. 3d ed. Toronto: Prentice Hall. Canada.

Weber, et al.,. (2022). Clinical practice guidelines for the management of hypertension in the community: A statement by the American Society of Hypertension and the International Society of Hypertension. Retrieved December 2, 2023, from http://www.ashus.org/documents/ash_ish-guidelines_2013.pdf