การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

Main Article Content

มงคล มากจีน
นิคม นาคอ้าย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ใช้วิธีเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และ
เชิงคุณภาพ โดยประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำนวนทั้งหมด 124 โรงเรียน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบ 1 คำตอบ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์จากค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(μ = 3.80, σ = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เน้นการประนีประนอม (μ = 4.58, σ = 0.64) รองลงมา คือ เน้นการร่วมมือ (μ = 4.52, σ = 0.71) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ เน้นการเอาชนะ (μ = 2.45, σ = 1.26) 2) แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2.1) ด้านเน้นการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามระเบียบ ข้อบังคับที่ถูกต้อง 2.2) ด้านเน้น
การร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคน ได้ซักถามข้อข้องใจเพื่อสร้างความเข้าใจตรงกัน 2.3) ด้านเน้นการประนีประนอม ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นกลาง มีความยุติธรรม มีคุณธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 2.4) ด้านเน้นการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารสถานศึกษาต้องหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งที่เป็น
เรื่องส่วนตัวของบุคคล 2.5) ด้านเน้นการยอมให้ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะ การรับฟัง
การแสดงความคิดเห็นของบุคลากร

Article Details

How to Cite
มากจีน ม., & นาคอ้าย น. (2024). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(3), 33–44. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/274720
บท
บทความวิจัย

References

กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. (2560). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิราลักษณ์ วงษ์แก้ว. (2562). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เดชวิทย์ นิลวรรณ. (2558). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ต่อศักดิ์ ศรีแก้วแฝก และคณะ. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต12. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(2), 11-20.

นัฏฐิกา นิลสุข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิภาพการทำงานตามทัศนคติของครูอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม. (2561). ความขัดแย้งในสังคมทฤษฎีและแนวทางแก้ไข. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 224-238.

วนิดา เนาวนิตย์. (2563). การจัดความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิชานนท์ เทียมทะนง. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 193-208.

เศรษฐพล บัวงาม. (2563). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัญบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่. (2565). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2566 จาก https://web.sukhothai1.go.th/index.php.

อโนชา งามจิต. (2562). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีซีเทคแปซิฟิค จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษามหาบัณฑิต. สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.

อัจฉรา ลิ้มวงษ์ทอง. (2557). การบริหารความขัดแย้งในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คส์ ทูย.อรุณ.

Thomas, K. W. & Kilmann, R. H. (1987). Thomas - Kilmann Conflict Mode Instrument. New Yoke: XICOOM Incorate.