ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานในสถานการณ์ COVID - 19 ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเกาะสมุย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานในสถานการณ์ COVID - 19 ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเกาะสมุย โดยใช้แนวคิดของมาลลาซ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเกาะสมุยอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 110 คน ใช้สูตรคำนวณของ Cohen เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล และแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t - test และ ANOVA ผลการวิจัยมี ดังนี้ 1) พยาบาลวิชาชีพมีภาวะหมดไฟในการทำงานในสถานการณ์ COVID - 19 อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 59.1 ระดับปานกลางร้อยละ 39.1 และภาวะหมดไฟในการทำงานระดับสูง ร้อยละ 1.8 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ และด้านการลดความเป็นบุคคล อยู่ในระดับต่ำ
แต่ด้านความสำเร็จส่วนบุคคล อยู่ในระดับสูง 2) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานในสถานการณ์ COVID - 19 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอายุที่น้อยกว่าหรือ เท่ากับ 30 ปี กลุ่มที่มีภาระครอบครัวที่เดือดร้อนมาก แผนกที่ปฏิบัติงานไม่สัมผัสกับ COVID - 19 โดยตรง ลักษณะงานในฐานะผู้ปฏิบัติงาน มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน อย่างมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนตัวแปร ด้านเพศ สถานภาพ ระยะเวลาปฏิบัติงาน เงินเดือน ค่าตอบแทนความเสี่ยงในการปฏิบัติงานโรคประจำตัวและภูมิลำเนา
ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2565). เกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์. เรียกใช้เมื่อ 2565 กันยายน 12 จากhttps://www.facebook.com/informationcovid19/
กรมสุขภาพจิต. (2563). องค์ความรู้การดูแลสุขภาพใจในสถานการณ์การระบาด โควิด-19 ใจพร้อม ไม่ยอมป่วย. เรียกใช้เมื่อ 2565 ตุลาคม 23 จาก https://dmh-elibrary.org/items/show/318
กรมสุขภาพจิต. (2564). ภาวะหมดไฟในการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 2565 ตุลาคม 23 จาก https://dmh.go.th/ news/view.asp?id=2445
ทิพรัตน์ บำรุงพนิชถาวร และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทางานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 100-110.
นันทาวดี วรวสุวัส และคณะ. (2560). โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจป้องกันภาวะ. ขอนแก่น: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.
นิศากร กะการดี และคณะ. (2563). ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 293-301.
ปองกานต์ ศิโรรัตน์. (2563). การศึกษาเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Job Burnout) ของพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจกล่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์. เรียกใช้เมื่อ 2566 ตุลาคม 19 จาก https://archive.cm.ma hidol.ac.th/bitstream/123456789/3879
มงคล เอกพันธ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันวิชาชีพพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลนครพนม. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 9(1), 54-77.
มนัสพงษ์ มาลา. (2564). ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(5),944-954.
ศรัณย์ ศรีคำ และคณะ. (2557). ภาวะเหนื่อยล้าในการทำางานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2), 139-150.
สิมาพร พรมสาร และคณะ. (2564). ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศิริราชระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เวชสารแพทย์ทหารบก, 74(3), 197-204.
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์ และสิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. (2563). ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4),400-408.