ข้อต่อสู้ของรัฐเรื่องการกระทำของนักลงทุนต่างชาติที่ขัดต่อกฎหมาย ของรัฐผู้รับการลงทุนในอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐกับนักลงทุน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัญหาความไม่สม่ำเสมอของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประเด็นเกี่ยวกับการกระทำของนักลงทุนต่างชาติที่ขัดต่อกฎหมายของรัฐผู้รับการลงทุนในอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐกับนักลงทุน และ 2) เพื่อวิเคราะห์รวมถึงกำหนดแนวทางในการนำปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาและ
การทำคำชี้ขาดคดีมาปรับใช้กับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับประเด็นดังกล่าว โดยวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพและใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งศึกษาค้นคว้าจากเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า ข้อหนึ่ง คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประเด็นดังกล่าวมีความไม่สม่ำเสมอกัน กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วเมื่อนักลงทุนต่างชาติได้กระทำการอันขัดต่อกฎหมายของรัฐผู้รับการลงทุน อนุญาโตตุลาการควรจะปฏิเสธการคุ้มครองแก่การลงทุนดังกล่าว ในชั้นของขอบอำนาจอนุญาโตตุลาการตามหลักความยินยอมและหลักมือสะอาด แต่ถึงกระนั้นกลับปรากฏคำชี้ขาดในลักษณะที่ว่าอนุญาโตตุลาการยังคงมีขอบอำนาจเหนือข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ แต่ด้วยความบกพร่องของเนื้อหาจึงไม่สมควรรับไว้ในชั้นพิจารณา (Admissibility) และถึงขนาดปรากฏกรณีที่อนุญาโตตุลาการรับข้อพิพาทไว้ในชั้นพิจารณา (Merit) ต่อไปด้วย และข้อสองผู้วิจัยเห็นว่าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากการศึกษาสามารถวิเคราะห์หาข้อสรุปและจัดทำข้อเสนอแนะได้ในลักษณะที่ว่า อนุญาโตตุลาการควรนำปัจจัยว่าด้วย ข้อกำหนดทางกฎหมาย เนื้อหาและความรุนแรงของการกระทำ ช่วงเวลาในการกระทำผิด และความผิดของรัฐผู้รับการลงทุน ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความไม่สม่ำเสมอมาพิจารณาเรียงตามลำดับตามที่กล่าวมา จะช่วยผสานความไม่สม่ำเสมอและสร้างบรรทัดฐานอย่างเป็นระบบต่อการทำคำชี้ขาดได้ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฬาลักษณ์ พินธะ. (2557). ข้อต่อสู้ของรัฐเรื่องการทุจริตในการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรื่องการลงทุน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดร.นาถนิรันดร์ จันทร์งาม. (2562). หลักการพื้นฐานของกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศและการดำเนินการลงทุนระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศฤงคาร วิเชียรรัตน์. (2564). ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับแนวทางพัฒนากระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับนักลงทุน โดยอาศัยวิธีการไกล่เกลี่ย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน. (2565). การปฏิรูปการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและนักลงทุนต่างชาติ:ศาลการลงทุนระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Fraport v. & Republic of the Philippines. (2006). ICSID Case No. ARB/03/26,Award (August 2, 2006).
Georg Gavrilovic and Gavrilovic d.o.o. v. Republic of Croatia. (2018). ICSID Case No. ARB/12/39 (July 26,2018).
Hamester GmbH & Co KG v. Republic of Ghana. (2010). ICSID Case No. ARB/07/24 (June 18, 2010).
Inceysa V. & v. Republic of El Salvador. (2006). ICSID Case No. ARB/03/26,Award( August 2, 2006).
Plama v. Republic of Bulgaria. (2008). ICSID Case No. ARB/03/24 (August 27, 2008).
Tokios Tokeles v. Ukraine. (2004). ICSID Case No. ARB/02/18 (April 29, 2004).