ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ของกลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มนัญญา อินชำนาญ
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ส่วนประสมทางการตลาด 2) การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของกลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร เลือกตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย T - test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F - test (One - way ANOVA) และMultiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ในระดับความสำคัญมาก เพศ อายุ และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบำรุงผิวของกลุ่มวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ผู้ประกอบการควรมีการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก มีความน่าเชื่อถือ และสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นจุดเด่นของแบรนด์ บรรจุภัณฑ์เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนมีส่วนผสมจากธรรมชาติ มีความหลากหลาย ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย มีช่องทางจำหน่ายที่หาซื้อได้ง่าย เช่น Wason, Eveandboy, 7eleven หรือร้านโชห่วยตามชุมชน มีการโฆษณาทั้งออฟไลน์และออนไลน์ มีโปรโมชั่นพิเศษตามเทศกาล การให้สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกมีโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ตามวันสำคัญต่าง ๆ ทางการตลาด เช่น วันที่ 12 เดือน 12 และมีการดีลการแพตฟอร์มต่าง ๆ เช่น SHOPEE LAZADA เพื่อขอเป็นโค้ดส่วนรถในการซื้อสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑารัตน์ ทองสนิท และคณะ . (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าออร์แกนิกของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2),9-19.

ธันวา ธีรธรรมธาดา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า (Facial Skincare) ระดับ Counter Brand ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัทมพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊คของนักศึกษาหญิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรเทพ ทพยพรกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิพัฒน์ ไชยพัฒน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โฟมล้างหน้าของผู้บริโภค. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกริก .

ลลิดา เกษมวงศ์. (2563). การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวญี่ปุ่นของผู้บริโภคเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สรรพสิริ ชัยเกียรติธรรม. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับเพศ ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สาริศา เทียนทอง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออร์แกนิคแบรนด์ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุดารัตน์ โลกธรรมรัตนกษ์ . (2554). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับเพศชายของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Amarc. (2566). โลชั่น ครีมบำรุงผิวทำไมเราจำเป็นต้องทา? Retrieved พฤศจิกายน 27 , 2562 , from https://amarc.co.th/lotion-knowledge-th/

Kotler & Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th global Ed). London, England: Pearson Education Limited.