การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด

Main Article Content

วรัญญา กันปี
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารทรัพยากรบุคคล ของ บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรบริษัทแคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด ที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป หรือพนักงานตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้างานขึ้นไป โดยเลือกตัวอย่าง จำนวน 80 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ทดสอบแบบ T - test, F - test (One way ANOVA) และ Multiple Regression พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นพนักงาน อายุงาน 4 - 6 ปี สัดกัดฝ่ายผลิต ตำแหน่งหัวหน้างาน 1) การบริหารทรัพยากรบุคคลภาพรวม อยู่ในระดับสำคัญมาก 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด ไม่แตกต่างกัน 4) การบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการาปฏิบัติงาน ของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารหน่วยงานควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการทำงานแต่ละหน้าที่ ให้มีความเป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกาศหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติให้บุคลากรทราบทั่วกัน หัวหน้างานต้องให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่อพนักงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงการทำงาน

Article Details

How to Cite
กันปี ว. ., & วิสิฐนิธิกิจา ช. (2023). การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากร บริษัท แคบริค (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(12), 228–236. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/273830
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัยการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และคณะ. (2561). การศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา เขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(2), 590-599.

จุฑารัตน์ เพ็ชรสุวรรณการพัฒ. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์. ใน วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ฐิตาทกานติ์ อังศุชวาลกิจ และคณะ. (2564). กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 339-351.

ไพรินทร์ สงละเอียด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานราชการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน. ใน รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโรงแรมรีสอร์ท. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 1-12.

วันวิสา จงรักษ์ และเนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมถ่านหินแในประเทศอินโดนีเซีย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 113-121.

อิสระ สุขศานต์ และสุมาลี รามนัฏ. (2565). ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 181-194.

Hongsaeng, P. (2012). Human Resource Management Affecting Branch Staffs’ OrganizationalCommitmentin Government Savings Bank in Bangkok Metropolitan Master of Business. Administration: Srinakharinwirot University.

Jackson, S. E. & chuler, R. (2003). Managing human resource through strategic partnership. 8th ed. Cincinnati, OH: South-Western.

Peterson, E. & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood,Illinois: Richard D. Irwin.

Snell, A. S. & Shad S. M. (2019). Managing Human Resources. 18th ed. Singapore: Cengage Learning Asia.

Werner, J. M. (2006). Human Resource Development. OH: Thomson South-Western.