การฟังเสียงของลูกค้า เพื่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต: หลักการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ

Main Article Content

วิสูตร บกสกุล
เอกรินทร์ สังข์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางการฟังเสียงของลูกค้า เพื่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต โดยเป็นการนำหลักการและแนวคิดการรับฟังลูกค้า (Customer Listening) ของเกณฑ์รางวัล Malcolm Baldrige และแนวดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มาเป็นเกณฑ์สำคัญในพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพสถานศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งสามารถดำเนินการตามแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ 1) ความต้องการของลูกค้า (Customer needs) คือ คำอธิบายในคำพูดของลูกค้า ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องนำมากำหนดมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารและการจัดการหรือบริการ การจัดการเรียนการสอนของครู การพัฒนาด้านคุณภาพเด็ก 2) โครงสร้างตามลำดับชั้น (Hierarchical Structure) คือ การวิเคราะห์
ความต้องการและการนำความต้องการของลูกค้า ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง มาจัดหมวดหมู่โครงสร้างตามลำดับความสำคัญ นำมาวางแผนเพื่อการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ (Strategic Needs) 3) การจัดลำดับความสำคัญ (Priorities) เป็นขั้นที่ต้องพิจารณาถึงลำดับความสำคัญ ความต้องการของลูกค้า ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม มีลำดับความสำคัญและความต้องการแตกต่างกัน 4) การรับรู้ถึงประสิทธิภาพของลูกค้า (Customer Perceptions of Performance) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา รวมทั้งติดตามผล การดำเนินงาน ตอบสนองความต้องการได้ดีเพียงใดหรือเป็นไปตามมาตรฐานและค่าเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา และเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์การตลาด และพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้น การนำเสียงของลูกค้ามาปรับใช้ ผู้เขียนเชื่อว่าจะสามารถเป็นแนวทางใหม่ของการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของไทยสู่ความเป็นเลิศในอนาคตได้

Article Details

How to Cite
บกสกุล ว. ., & สังข์ทอง เ. . (2023). การฟังเสียงของลูกค้า เพื่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต: หลักการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(12), 16–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/273588
บท
บทความวิชาการ

References

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). Voice of Customer- VOC Customer Insight (วิธีการรับฟังเสียงลูกค้าเพื่อค้นหา Customer Insight). เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2566 จากhttps://www.ryt9.com/s/prg/2625254

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2566). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

Akella, K., et al. (2017). Gain Customer Insights Using NLP Techniques. SAE International Journal of Materials and Manufacturing, 10(3), 333–337.

Gaskin, S.P. et al. (2010). Voice of the Customer. Wiley International Encyclopedia. Retrieved March 7 , 2023, from https://doi.org/10.1002/9781444316568.wiem05020

Nist. (2023). Core Values and Concepts Baldrige performance excellence program. Retrieved March 7 , 2023, from https://www.nist.gov/baldrige/core-values-and-concepts

Pearse, N. j. (2017). Visionary Leadership in a Turbulent World : Thriving in the New VUCA Context. Bingley: Emerald Publishing Limited.

Rimita, K. N. (2019). Leader Readiness in a Volatile, Uncertain, Complex, and Ambiguous (VUCA) Business. Walden University USA: ProQuest LLC.

The Standard. (2019). Philip Kotler, the father of modern marketing, pointsout A business must have the potential to createSociety is not just "profit". Retrieved March 7 , 2023, from https://thestandard.co/world-marketing-summit-asia-2019/

The story Thailand. (2020). Revealing the idea of 3 organizations using strategiesto listen to the voices of employees and customersWith Qualtrics solutions. เรียกใช้เมื่อ 4 August 2023 จาก https://www.thestorythailand.com/24/08/2020/5030/