การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิด PDSA และ Single Loop Learning สำหรับโรงเรียน Stand Alone
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิด Plan - Do - Study - Act (PDSA) และ Single Loop Learning สำหรับโรงเรียน Stand Alone สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประกอบด้วยการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาจากโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ การสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะโดยใช้แนวคิด Plan - Do -Study - Act (PDSA) และ Single Loop Learning สำหรับโรงเรียน Stand Alone สังกัด สพฐ. ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 25 ตัวบ่งชี้ ที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค - สแควร์ (χ2) เท่ากับ 559.36 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 242 คิดเป็นค่าไค - สแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 2.31 มีค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ (CFI) 0.99 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.07 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.04 โดยสามารถเรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน ดังนี้ ACT: สรุปผลการใช้ร่างหลักสูตรและประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ (CS = 0.99) DO: เตรียมความพร้อมการพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาและโครงสร้างรายวิชา (CS = 0.98) STUDY: นำร่างหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนการสอน (CS = 0.95) และ PLAN: กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (CS = 0.94) ซึ่งเมื่อพิจารณาทุกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องแล้วสามารถสรุปได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำในการร่วมกันจัดการศึกษาระหว่างครู บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และชุมชนเพื่อนำสู่การเสริมสร้างสมรรถนะและเตรียมผู้เรียนให้พร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทายในรูปแบบที่หลากหลาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทรงพล เทพคำ. (2557). การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 7(1), 114 - 130.
รวีวรรณ ต๊ะถิ่น และคณะ. (2558). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ นาร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(3), 230 - 240.
ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก หน้า 1 (6 กรกฎาคม 2546).
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550). ผู้เรียนเป็นสำคัญ. ใน สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
วิชัย วงใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ผลการประเมิน PISA. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2566 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2000 - pisa2018/
สมพร บัวกล่ำธนกิจ และคณะ. (2562). ทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอนในโรงเรียนที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 8(1), 50 - 59.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รู้จักกับ โครงการโรงเรียนคุณภาพ ตามนโยบาย รมว.ศธ. ตรีนุช เทียนทอง. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2566 จาก https://moe360.blog/2022/05/25/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). การบริหารโดยสถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน : ความท้าทายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1), 101 - 110.
Adegbemile, O. (2011). Principals’ Competency Needs for Effective Schools’ Administration in Nigeria. Journal of Education and Practice, 2(4), 15 - 23.
Albanese, R. (2005). Competency-Based Management Education: Three Operative and Normative Issues. Journal of Management Education, 14(1), 16 - 28.
Bentler, P. M. (1990). Comparative Fit Indexes in Structural Models. Psychological Bulletin, 170(2), 238 - 246.
Buttram, J. L. & Farley-Ripple, E. N. (2016). The Role of Principals in Professional Learning Communities. Leadership and Policy in Schools, 15(2), 192 - 220.
Kline, R. B. (1998). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.
Whitney, A. E. (2013). When University Faculty Nurture Teacher Leadership: “Horizontal” Practices and Values in a Professor’s Work with Teachers. International Journal of Leadership in Education, 16(1), 71 - 93.