ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไป ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตจันทบุรี ตราด

Main Article Content

สินาถ อานามนารถ
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไป 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไปกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู และ 4) ศึกษาผลของภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไปที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตจันทบุรี ตราด โดยใช้รูปแบบการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ   กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ใช้สถิติการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไป มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครู มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไปกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การพยากรณ์ภาวะผู้นำ   การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ยุคความปรกติถัดไปกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ = 1.224 + 0.202 (X4) + 0.224 (X1) + 0.118 (X5) + 0.134 (X2) และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน = 0.269 (X4) + 0.245 (X1) + 0.144 (X5) + 0.149 (X2)

Article Details

How to Cite
อานามนารถ ส. ., วรบำรุงกุล ธ. ., วรบำรุงกุล ธ. ., & จันทร์ส่งแสง อ. . (2023). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษายุคความปรกติถัดไป ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตจันทบุรี ตราด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(9), 96–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/271947
บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ภูวิจิตร์. (2565). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในยุค Next Normal. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20220308-4.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ณฐิณี มณีวรรณ. (2563). ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทัศนีย์ แก้วสมนึก. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก. ใน วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพวัลย์ ชาลีเครือ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงลักษณ์ ฤทธิ์คำ. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยมาภรณ์ กู้กิตติไมตรี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาโรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. วิทยาลัยบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ภานุวัฒน์ กาญจะโนสถ. (2564). 5 กลยุทธ์ยกระดับแผนการบริหารอัตรากำลัง. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก https://www.pwg.co.th/articles/5 - กลยุทธ์ยกระดับแผนการบริหาร

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซแท็กซ์.

รังสรรค์ อินทน์จันทน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ. (2564). ภาวะผู้นำกับการบริหารองค์การในยุคนิวนอร์มัล. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 125 - 134.

ศิริมาศ เสนาะล้ำ. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศุธิสา ทัพซ้าย. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู อำเภอท่าตะเกียบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ์ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์ : แนวคิดและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตจันทบุรี ตราด. (2565). ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตจันทบุรี ตราด. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2566 จาก http://sec17.ksom.net/bdata/school.html

สุภัสศรณ์ พนมไพรพฤกษา. (2560). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8 (1), 116 - 128.

เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2564). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก https://www.depa.or.th/th/article - view/digital - transformation - new - normal - next - normal

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัฒนศักดิ์ สิทธิ. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=204

Bass, B. M. & Riggio, R. E. (2006). Transformational Leadership (2nd ed). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Julian, B. et al. (1996). Effects of Transformational Leadership Training on Attitudinal and Financial Outcomes. Journal of Applied Psychology, 81(6), 827 - 832.

Krejcie & Morgan. (1970). Approach in Quantitative Research. Journal of Applied Liberal Arts, 7(2), 112 - 125.