แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์

Main Article Content

ศรัณย์ ท้าวมิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2) เพื่อเสนอแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการส่งเสริมศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 3) เพื่อเสนอวิธีการของแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการส่งเสริมศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาโดยการใช้การสัมภาษณ์ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และอดีตผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์รวม 20 รูป/คน และจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่มี ผู้บริหารระดับรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งหมด 7 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ กล่าวคือ ความเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านพระพุทธศาสนาซึ่งบทบาทของมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นการศึกษาทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ และเป็นศูนย์กลาง ความรู้วิชาการพระพุทธศาสนา โดยผู้วิจัยเสนอแนวทางส่งเสริมการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และศีลธรรมได้ออกมาเป็น 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การพัฒนาองค์กร คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในเรื่องของระบบบริหารจัดการ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากกร ให้พร้อมต่อการที่จะนำไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป แนวทางที่ 2 การสร้างเครือข่าย คือ การร่วมมือในกับหน่วยงานอื่นภายนอกทั้งในส่วนงานราชการ หน่วยงานเอกชน สถานบันทางการศึกษา ชุมชน หรือสังคม เป็นต้น แนวทางที่ 3 การมีส่วนร่วมพัฒนา คือ การจัดกิจกรรม หรือ โครงการในทางพระพุทธศาสนาและศีลธรรม โดยเป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวน โดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้พระพุทธศาสนา จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติธรรม รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูจิตใจ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
ท้าวมิตร ศ. . (2023). แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(8), 289–302. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/271443
บท
บทความวิจัย

References

พระครูนรนาถเจิตยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร). (2561). แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดกวีวัฒน์ (ธีรวิทย์ ฉนฺทวิชฺโช). (2561). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการการสอนศีลธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระณปวร โทวาท. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระพิภพ แพงท้าว. (2563). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

พระมหานงค์ อับไพ. (2558). การบริหารการเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของมหาเถรสมาคม. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา). (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อรองรับประเทศอาเซียน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 - 2559). เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2565). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2565 จาก https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/1278/iid/ 41469

Miles, M B. & Huberman, A M. (1994). Qualitative Data Analysis. An Expanded Sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks. CA: Sage.