การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากร ในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1

Main Article Content

ชุดาพร จรจรัส
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี
โสภณ ขำทัพ
สุจิตรา ทิพย์บุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักอิทธิบาท 4 2) เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 ท่าน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านวิริยะ รองลงมาคือ ด้านฉันทะ และน้อยที่สุด คือ ด้านจิตตะ ตามลำดับ 2) ผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย ฉันทะ คือ บุคลากรควรมีความรับผิดชอบและพร้อมให้คำปรึกษา และร่วมกันแก้ปัญหาของงานนั้น ๆ ด้วยความเต็มใจ, วิริยะ คือ บุคลากรควรมีความเพียรพยายามปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและไม่ละทิ้งงาน, จิตตะ คือ บุคลากรควรมีความเอาใจใส่ต่อผู้ร่วมงานมีจิตอาสาเป็นมิตรกับผู้อยู่ในการปกครอง คนรอบข้างด้วยความจริงใจ เอาใจใส่, วิมังสา คือ บุคลากรควรมีการพิจารณาใคร่ครวญซักซ้อมทดลองและทำความเข้าใจในเนื้อหางานก่อนที่จะวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อสร้างระบบวิธีการและขั้นตอนที่ชัดเจน

Article Details

How to Cite
จรจรัส ช. ., วงศ์ณาศรี ป. ., ขำทัพ โ. ., & ทิพย์บุรี ส. . (2023). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากร ในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(8), 256–267. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/271437
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ จุลานุพันธ์. (9 มีนาคม 2566). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของ บุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. (ชุดาพร จรจรัส, ผู้สัมภาษณ์)

กณิการ์ ภูตะมี. (9 มีนาคม 2566). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. (ชุดาพร จรจรัส, ผู้สัมภาษณ์)

จันทนา พัวภิรมย์. (14 มีนาคม 2566). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานบุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. (ชุดาพร จรจรัส, ผู้สัมภาษณ์)

ชัยยะ แสงจันทร์นวล. (2563). ศึกษาวิเคราะห์หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกอง บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ดร., พระครูปริยัติธำรงคุณ. (3 มีนาคม 2566). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของ บุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. (ชุดาพร จรจรัส, ผู้สัมภาษณ์)

ทิพวัลย์ จันทร์ขาว. (14 มีนาคม 2566). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานบุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. (ชุดาพร จรจรัส, ผู้สัมภาษณ์)

นิชานันท์ ชาวนา. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่าน อินเทอร์เน็ต ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1 . ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระกีต้าร์ กิตฺติวุฑฺโฒ (วิไลวงศ์). (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์ แขวงหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูธีรธรรมานุยุต. (3 มีนาคม 2566). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี 1. (ชุดาพร จรจรัส, ผู้สัมภาษณ์)

พระอธิการประเสริฐ กาญจโน (วงเวียน). (2559). ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พูนสุข ภูสุข. (2555). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนพะงา เล็กขาว. (2561). นักพัฒนาระบบราชการชำนาญการ สำนักงาน ก.พ.ร.,“เปิดมุมมองระบบราชการไทยผ่านหน้าต่าง Society 5.0. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก <https://wiki.ocsc.go.th.>

ษมาวีร์ จันทร์อารีย์. (2562). ระบบราชการไทยกับข้าราชการในประเทศไทย4.0. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(2),120-132.