ข้อยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายของแพทย์ในการยุติการรักษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาให้ได้มาซึ่งข้อยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายในการยุติการรักษาที่เหมาะสม อันเป็นการยกเว้นความรับผิดให้แก่แพทย์ที่ยุติการรักษาผู้ป่วยด้วยเหตุผลที่กฎหมายรับรองให้ยุติการรักษาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต วิทยานิพนธ์ รวมทั้งคำพิพากษาของศาล ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายยกเว้นความรับผิดของแพทย์ในการยุติการรักษาผู้ป่วยเพียงกรณีเดียวคือกรณีที่ผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาเอาไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อศึกษากฎหมายต่างประเทศนั้นพบว่ามีกรณีอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ กรณีที่ผู้ป่วยแสดงเจตนาขอให้แพทย์ยุติการรักษาเนื่องจากได้รับความทรมานจากโรคที่เป็นอยู่ กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาพผัก และกรณีที่ขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ บทบัญญัติที่ยกเว้นความรับผิดทางกฎหมายของต่างประเทศนั้น มีทั้งบทบัญญัติเฉพาะเพื่อคุ้มครองความรับผิดทางแพ่ง อาญา หรือในบางประเทศคุ้มครองถึงโทษทางวินัยด้วย อีกทั้งยังมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขั้นตอนก่อนที่จะมีการยุติการรักษา รวมทั้งมีแนวคำพิพากษาที่ตัดสินให้แพทย์ที่ยุติการรักษาในกรณีดังกล่าวให้ไม่มีความผิดตามกฎหมาย การที่กฎหมายมีบทยกเว้นความรับผิดให้แก่แพทย์ในกรณีต่าง ๆ นั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่แพทย์ในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น แต่ก็มิได้หมายความว่ากฎหมายจะยกเว้นความรับผิดให้แก่แพทย์ในทุกรณีหรือทุกเงื่อนไข เพราะหากแพทย์ปฏิบัติงานโดยไม่สุจริต ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย กฎหมายในหลาย ๆ ประเทศก็มิได้ให้ความคุ้มครอง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค1. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.
นพพล วิทย์วรพงศ์. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
นภัส คำนวณ. (2558). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่และจริยธรรมของแพทย์ เมื่อผู้ป่วยใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้าย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นันทน อินทนนท์. (2544). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการตายอย่างสงบ. เรียกใช้เมื่อ 22 ธันวาคม 2565 จาก Http://people.su.se//~nain4031/euthanasiaTHAI.html
ภูมิภัทร ศาสตร์ศศิ. (2555). อำนาจกระทำของแพทย์ในการให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบในวาระสุดท้ายของชีวิต. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุณิชญา ธีรโรจน์วิทย์. (2565). “การใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยและไต้หวัน,”.วารสารรามคำแหงฉบับนิติศาสตร์, 11(1), 18-21.
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2532). “การกระทำโดยจำเป็น เหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมายอาญาฝรั่งเศส,”. วารสารคณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 17(3), 143-153.
แสวง บุญเฉลิมวภาส. (2558). “การรักษาพยาบาลผู้ป่วยวาระสุดท้าย ความจริงทางการแพทย์กับขอบเขตทางกฎหมาย,”. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1(3), 248.
Thaddeus M. (2007). Medical Futility Statutes: No Safe Harbor to Unilaterally Refuse Life-Sustaining Treatment. Retrieved November 15 , 2022, from https://www.researchgate.net/publication /45491134_Medical_Futility_Statutes_No
Valerie G. (2020). How States are Protecting Health Care Providers from Legal Liability in the COVID-19 Pandemic. Retrieved January 1 , 2023, from https://blog.petrieflom.law. harvard.edu/2020/05/05/legal-liability-health-care-covid19-coronavirus-pandemic/