อิทธิพลของต้นทุนทางจิตวิทยา การสนับสนุนจากองค์การ และความไว้วางใจ ในหัวหน้างานที่มีต่อความยึดมั่นผูกพัน ในงานของผู้จัดการสถานีบริการน้ำมัน ประจำสาขาบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับต้นทุนทางจิตวิทยา การสนับสนุนจากองค์การ ความไว้วางใจในหัวหน้างาน และความยึดมั่นผูกพันในงานของผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง 2) อิทธิพลของต้นทุนทางจิตวิทยา การสนับสนุนจากองค์การและความไว้วางใจในหัวหน้างานที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาของบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง จำนวน 1,100 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาของบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง จำนวน 285 คน ใช้การสุ่มแบบจัดชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่งมีทุนทางจิตวิทยาโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความหวังและการปรับฟื้นคืนสภาพอยู่ในระดับสูง การสนับสนุนจากองค์การและความไว้วางใจในหัวหน้างานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่งมีความยึดมั่นผูกพันในงานอยู่ในระดับสูง 2) ต้นทุนทางจิตวิทยาด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี การปรับฟื้นคืนสภาพและการสนับสนุนจากองค์การร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันในงานของผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันประจำสาขาบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 62.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ปั๊มน้ำมันแข่งเดือดเอสโซ่งัดบัตรสไมล์ชิงลูกค้า. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2562 จาก https://www.prachachat.net/economy/news - 342348
ปราชญา กล้าผจัญ และพอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ก. พลการพิมพ์.
เปรมจิตร์ คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลบริษัทปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง. (2562). ข้อมูลองค์การ. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2562 จาก http://investor.ptgenergy.co.th/th
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2555). ต้นทุนทางจิตวิทยา. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(84), 34 - 39.
สัญชาติ พรมดง. (2561). ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน). ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อานนท์ เสียงพานิช. (2559). มาตรการลดการลาออกของพนักงาน บริษัทผลิตเป็ดเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Avey et al. (2011). Meta-analysis of the impact of positive psychological capital on employee attitudes, behaviors, and performance. Human resource development quarterly, 22(2), 127 - 152.
Bakker & Leiter. (2010). Work Engagement: A Handbook of Essential Theory and Research. New York: Psychology Press.
Bakker, A. B. et al. (2011). Key questions regarding work engagement. European Journal of Work and Organizational Psychology, 20(1), 4 - 28.
Diener et al. (2002). Subjective well-being: The science of happiness and life satisfaction. London: Oxford University Press, 463 - 743.
Eisenberger et al. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.
Luthans et al. (2007). Psychological Capital:Developing the Human Competitive Edge. New York: Oxford University Press.
Mishra, A. K. (1996). Organizational responses to crisis: The centrality of trust. New Delhi: Thousand Oaks.
Seligman, M. E. (1988). Learned Optimism. New York: Pocketbooks.
Sweetman, D., & Luthans, F. (2010). The power of positive psychology: Psychological Capital and work engagement. NewYork: Psychology Press.