ความพึงพอใจในค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจในค่าตอบแทนในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด 2) ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในค่าตอบแทนในการทำงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาคือ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 37 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจในค่าตอบแทนในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านรางวัลตอบแทนทางสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านค่าตอบแทนทางอ้อม ด้านรางวัลตอบแทนทางอาชีพ และด้านรางวัลตอบแทนทางตรง ตามลำดับ 2) แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยค้ำจุนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านปัจจัยจูงใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นโยบายและการบริหารงานขององค์กรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาและวิธีการบังคับบัญชา และ3) ความพึงพอใจในค่าตอบแทนในการทำงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด พบว่าความพึงพอใจในค่าตอบแทนในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส (1989).
กิจจา บานชื่น. (2560). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดาวเดือน โลหิตปุระ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ของการได้รับค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 225-235.
นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ (Organizational behavior) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญญารัตน์ กลัดทอง. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2), 331-346.
ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1. (22 ตุลาคม 2565). ปัญหาทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์. (และสุมอ นูรีตา, ผู้สัมภาษณ์)
ยุทธศักดิ์ ชูประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(3), 52-62.
รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์. (2561). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน :กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 121-144.
วิชาญ ฤทธิธรรม และวีรศักดิ์ บำรุงตา. (2564). องค์การบริหารส่วนตำบล: บริบททั่วไป, สภาพปัญหา และแนวคิดที่ควรปฏิรูป. วารสารมหาจุฬานาครทรรรศน์, 8(5), 1-16.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ. (2566). ระบบค่าตอบแทน. เรียกใช้เมื่อ 8 เมษายน 2566 จาก https://www.ocsc.go.th/compensation
สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2563). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา. วารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 340-354.
สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2560). หลักการบริหารธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.
องค์การบริหารส่วนตำบลควนกรด. (252). อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. เรียกใช้เมื่อ 8 มีนาคม 2566 จาก https://www.kuangrod.go.th/upload/20230314112004.pdf
อาจารีย์ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2564). ความพึงพอใจและแรงจูงใจของข้าราชการและพนักงานจ้างในการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 27(1), 33-47.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed. New York: Harper and Row.