แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็ก ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

รดา คลังทรัพย์
บุญเลิศ วีระพรกานต์
มะลิวัลย์ โยธารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรของ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารหลักสูตรของ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีกระบวนการจัดทำร่างหลักสูตร ที่ครอบคลุมความพิการของผู้เรียน ประกอบด้วยด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการประเมินหลักสูตรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนให้มีศักยภาพเฉพาะบุคคล 2. แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กสำหรับความต้องการจำเป็นพิเศษประกอบด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของแนวทาง แนวทางการดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล และการบริหารหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ (1) การร่างหลักสูตรของสถานศึกษาที่มีความสอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก (2) การบริหารหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก (3) การประเมินหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก3การนำเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มทุกคนเห็นว่า มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ มีโครงสร้างตามองค์ประกอบการบริหารหลักสูตร3 ระบบบ (1) การร่างหลักสูตรของสถานศึกษา (2) การบริหารหลักสูตร (3) การประเมินหลักสูตร ซึ่งทั้ง 3 ระบบจะต้องมีความสอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก

Article Details

How to Cite
คลังทรัพย์ ร., วีระพรกานต์ บ. ., & โยธารักษ์ ม. (2023). แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็ก ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(5), 289–300. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/269199
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบานและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2565 จาก http://www.moe.go.th/นโยบายและจุดเน้น-2564

เกศรินทร์ วงศ์ร้อย. (2561). “แนวทางการบริหารหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีความพิการซ้อนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่”. ใน บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ดนยา อินจำปา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ. ใน บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี และธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้พิการโดยการมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 21(2), 292-303.

เบญจวรรณ คำมา. (2562). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก หน้าที่ 2 (5 กุมภาพันธ์ 2551).

ไพฑูรย์ ศรีเชย. (17 สิงหาคม 2565). หลักการบริหารงานวิชาการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. (รดา คลังทรัพย์, ผู้สัมภาษณ์)

มารุต พัฒนผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2565 จาก www.curriculumandlearning.com

รุจิร์ ภู่สาระ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิบัติรูปแบบการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). สารสนเทศศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2565 จาก https://sites.google.com/view/nstsec/

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 9 สิงหาคม 2565 จาก http://special.obec.go.th/HV3/page.php

สุภาวดี บุญช่วย. (21 ตุลาคม 2565). การบริหารงานหลักสูตรศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. (รดา คลังทรัพย์, ผู้สัมภาษณ์)