ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิชาการมุ่งนำเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษา ผู้เขียนสังเคราะห์และสรุปบทความวิชาการจากหนังสือ เอกสาร ตำรา วารสาร วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และอินเทอร์เน็ต สรุปได้ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านความสามารถและความสัมพันธ์ที่ดีของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษา คือ การเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาจากการดูแลและเอาใจใส่ 2) ปัจจัยด้านนิสัยรักการอ่าน สิ่งสำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักศึกษาจะต้องรู้และใช้วิธีอ่านที่ถูกต้องฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ อาจารย์ผู้สอนต้องเน้นการใช้วิธีสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง อันจะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาน 3) ปัจจัยด้านเจตคติต่อการเรียน อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมความพร้อมการสอน ได้แก่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร และคู่มือประกอบการทำกิจกรรม และมีการเตรียมขั้นตอนการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ นักศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงเป็นคนที่มีมีความสามารถในการวางแผนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามมาตรฐานที่เป็นเลิศที่ตนกำหนดเป้าหมายไว้ 5) ปัจจัยด้านบรรยากาศในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดบรรยากาศชั้นเรียนซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นให้นักศึกษามีแรงบันดาลใจ ความท้าทาย ความไว้วางใจ ความสนุกสนาน และความกล้าที่จะเสี่ยง บรรยากาศชั้นเรียนมีส่วนเสริมสร้าง และเอื้ออำนวยให้นักศึกษาเกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษตรชัย และหีม. (2550). การพัฒนาการศึกษาของสังคม. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
เข้ม ชอบกิตติ์วรกุล. (2560). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมี. วิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรจง อมรชีวิน. (2556). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.ปราณี หลำเบ็ญสะ และชิดชนก เชิงเชาว์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน. สงลขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปราณี หลำเบ็ญสะ และชิดชนก เชิงเชาว์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน. สงลขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2560). กลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์. วารสารสารสนเทศ, 15(2), 1-12.
ปาณิสรา อามะรีณ์. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ปิยณัฐ อุปแก้ว. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์. (2559). จิตวิทยาการศึกษา · การเรียนรู้ (จิตวิทยา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวยดุสิต.
พินิจ อุไรรักษ์. (2553). ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การไฝ่รู้และเจตคติต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเจตคติต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2565 จาก https://dric.nrct.go.th/
ว.วชิรเมธี. (2552). งานสัมฤทธิ์ชีวิตรื่นรมย์. กรุงเทพมหานคร: ปราณพับลิชชิ่ง.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี 5 ถูกสุดคือแพงสุด. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
วราภรณ์ ภิรมย์นาค. (2559). การประเมินผลโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วาริน เชิญกลาง. (2557). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 81-90.
วิชชุดา เตียวกุล. (2559). การใช้กิจกรรมแนะแนวกลุ่มต่อลักษณะนิสัยในการเรียนและเจตคติต่อการเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). การสอนทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). ทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุจิตรา จรจิตร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุชาติ วัฒนชัย และคณะ. (2561). การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGrawHill.
Christensen, C. M. (1999). human relations between teachers and students. Boston: Irwin/McGraw-Hil.
Ennis, R. H., & Norris, S. (1989). Evaluating critical thinking. Pacific Grove, CA: Midwest Publications.
Hessong, R. F., & weeks, T. H. (1987). Introduction to Education. New York: Macmillan Publishing.
Higuchi, K. A. & Donald, J. G. (2002). Thinking Processes Used by Nurses in Clinical DecisionMaking. Journal of Nursing Education, 41(4), 145-153.
Hudgins, B. (1977). Childen's Self Directed Critical Thinking. Journal of Education Research, 81(5), 262-273.
Jay, McTighe. (1991). Differentiated Instruction and Educational Standards : Is Détente Possible? Retrieved January 20, 2023, from https://www.jstor.org/stable/3497003
Kholoud, A. et al,. (2010). Synthesis and applications of silver nanoparticles. Boston: Irwin/McGraw-Hil.
McClelland, D.C & Nicholl,A. (2008). This then poses the question of how best to theorise the idea. Cambridge: Cambridge University Press.
McClelland, D. C. (1953). The Achievement Society. New York: The Free Press.
McClelland, D.C. (1985). Human motivation. Cambridge: Cambridge University Press.
Rogers, Carl R. . (1990). Freedom to Learn . Ohio. Charles E: Meril.
Shapiro, L.E. (1993). How to Raise a Child with a High EQ : A Parents’ Guide to EmotionalIntelligence. New York: Harper Collins.
Sizer,T & Dean, J. (1998). Factors affecting thinking. Boston: Irwin/McGraw-Hil.
Watson , G. & Glaser , E.M. (1964). Watson Glaser Critical Thinking AppraisalManual. New York: Harcourt , Brace and World Inc.
Yang, H. (2002). thinking. Retrieved January 20, 2023, from http://webcache.googleusercontent.com/