กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดโคกเปี้ยว จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 15 รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 14 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมภายใน จุดแข็งมากที่สุด คือ ผู้บริหารมีการประชุม ติดตาม วางแผนแก้ปัญหา จุดอ่อนมากที่สุด คือ บุคลากรมีคาบสอนมากมีภาระงานอื่น สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาสมากที่สุด คือ มีการร่วมมือกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม อุปสรรคมากที่สุด คือ ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจใน พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม 2) ผลการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม มีการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ตาม Model “PEST” ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อยู่ใน STAR ดาวรุ่ง มีสมรรถนะด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เข้มแข็ง 3) ผลการนำเสนอกลยุทธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสมมีประโยชน์ ซึ่งกลยุทธ์ทั้ง 4 ประกอบด้วย 1) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน 2) พัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) พัฒนาครู บุคลากร สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ 4) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ชูแก้ว. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชา คณิตศาสตร์ ของกลุ่มเครือข่ายที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียน สังกัดเทศบาล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ฤทัยวรรณ หาญกล้า และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 1-18.
สรรเพชญ โทวิชา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
Bennett, J. K. & O'Brien, M. J. (1994). The building blocks of the learning Organization. Training, 31(6), 41-49.