แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนบ้านโคกทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

อรุณรัตน์ สุวรรณบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้นั้นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนนั้นมี 7 ด้านประกอบด้วย1) นโยบายของโรงเรียน 2) ความพร้อมของโรงเรียนและชุมชน 3) ความร่วมมือกันทุกฝ่าย 4) กลไกที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ 5) จัดตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครู 6) กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันในทิศทางที่พึงประสงค์ และ7) ดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือ 2) แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตาม หลักสาราณียธรรม 6 มี 7 ด้านประกอบด้วย 1) นโยบายของโรงเรียน 2) ความพร้อมของโรงเรียนและชุมชน 3) ความร่วมมือกันทุกฝ่าย 4) กลไกที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ 5) จัดตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครู 6) กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันในทิศทางที่พึงประสงค์ และ7) ดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือ โดยในทุกขั้นตอนนั้นได้ดำเนินการร่วมกันโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 3) ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 พบว่า ในการร่วมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิได้มีความเห็นตรงกันว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

Article Details

How to Cite
สุวรรณบุรี อ. . (2023). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนบ้านโคกทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 265–280. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268664
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา แพทยานนท์. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกลุ่มบูรพา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎ พระนคร.

จุมพล กั้งโสม. (2543). การศึกษาการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชุติมา พวงทอง. (2563). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุตาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 1342-1354.

ณฐา แย้มสรวล. (2553). การประยุกต์สาราณียธรรมเพื่อเสริมสร้างความปรองดองในการ ปฏิบัติงานวิชาชีพพยาบาล ในโรงพยาบาลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(5),50-58.

นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งทิพย์ เข็มทิศ. (2559). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สามารถ มังสัง. (2562). สาราณียธรรม 6 : หลักการในการอยู่ร่วมกัน. เรียกใช้เมื่อ 9 มกราคม 2565 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000029668

สุชาติ ศรีสุวรรณ. (2559). “สามัคคีที่พร่ำหา”. มติชนรายวัน. เรียกใช้เมื่อ 9 มกราคม 2565 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_265425

อรอุมา เกษตรพืช. (2557). มส.แนะนำหลักสาราณียธรรม6สร้างปรองดอง. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก https://www.komchadluek.net/amulet/1877782

เอกพล ดวงศร. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของประชาชนตามร่างพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(4),67-81.