ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 306 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู พบว่า ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพครู และด้านการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพครู ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู พบว่า ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา แล้วร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินการนิเทศ ออกนิเทศการศึกษาโดยเน้นการเป็นโค้ชหรือพี่เลี้ยง พร้อมทั้งส่งเสริมให้ครูจะทำผลงานทางวิชาการ เข้าร่วมการอบรม สัมมนาอย่างต่อเนื่อง และพัฒนางานให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพอันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพปฏิบัติงานของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา สุระคำ. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. (2556). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 130 ง หน้าที่ 72-74 (4 ตุลาคม 2556).
ชวนะ ทวีอุทิศ. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีบัณฑิตปริญญาครุศาสตร สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2548). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.
พรทิพย์ ทับทิมทอง. (2561). การวิเคราะห์ผลของการใช้เวลาในการปฏิบัติภาระงานสอนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2565 จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/issue/view/9464
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก หน้าที่ 6-8 (14 สิงหาคม 2542).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2553). วิกฤตการศึกษาไทย: ชี้ด้วย O-NET, I-NET, VNET, U-NET, N-NET GAT และ PAT. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สัมมา รธนิธย์. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อัศนีย์ สุกิจใจ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Likert อ้างใน สุวรีย์ โภคารภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฎเทพสตรี.
Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of Psychological Testing (th 4ed.). New York: Harper & Row.
Hallinger, P. and Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behavior of principals. Chicago: The University of Chicago.
Krug, R. E. (1992). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.
Ubben, G. C. and Hughes, L. W. (1987). The principal: Creative leadership for effective schools. Boston: Allyn and Bacon.