บทบาทของพนักงานอัยการในการไต่สวนข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติมาตรการ ของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมา บทบาท หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และพนักงานอัยการ ระบบและกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เปรียบเทียบแนวคิดและทฤษฎีในการดำเนินคดีอาญาทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐของประเทศไทยกับของอารยประเทศ และเป็นแนวทางเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทย การศึกษาเป็นเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยทางเอกสาร โดยทำการศึกษาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561, พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสารการวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยผลการวิจัยพบว่า ควรพัฒนาระบบการสอบสวนฟ้องร้องในคดีอาญาทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ท. โดยให้พนักงานอัยการเข้ามามีส่วนร่วมในการไต่สวนข้อเท็จจริง ตั้งแต่เริ่มคดีโดยควบคุมและกำหนดทิศทางในการไต่สวนข้อเท็จจริง สามารถเข้าร่วมกับคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงตั้งแต่เริ่มต้นคดี เมื่อพนักงานอัยการได้เข้าร่วมการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จ ให้มีความเห็นว่าเห็นควรชี้มูลความผิดแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ แล้วนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อพิจารณาชี้มูลความผิด หากคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นพ้องด้วย ก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น หากมีความเห็นแย้งกัน ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยต่อไป คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดให้เป็นที่สุด ให้พนักงานอัยการดังกล่าวเป็นพนักงานอัยการผู้ฟ้องร้องคดีดังกล่าวด้วยตนเอง เนื่องจากจะสามารถหยิบยกพยานหลักฐานมาใช้ในชั้นศาลได้ดีและเหมาะสมกว่าบุคคลอื่น ส่งผลให้การดำเนินคดีทุจริตมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดความน่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยารัตน์ เอี่ยมอาจหาญ. (2551). การถอนฟ้องคดีอาญา : ศึกษากรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณิต ณ นคร. (2528). วิธีพิจารณาความอาญาไทย : หลักกฎหมายกับทางปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน. วารสารนิติศาสตร์, 15(3), 6-7.
คณิต ณ นคร. (2556). กระบวนการยุติธรรมในมุมมองของคณิต ณ นคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2564). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน .
ชยาธร เฉียบแหลม. (2564). การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีอาญาระบบไต่สวน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 50(3), 282-285.
ปาณิศ วงศ์ทุมมาลา. (2555). ความเป็นภาวะวิสัยของพนักงานอัยการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและฝรั่งเศส. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ภาวิณี หาญธงชัย. (2563). เอกภาพการสอบสวนในคดีอาญา : ศึกษาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง . ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรวิทย์ สุนทรเสถียรเลิศ. (2557). การเริ่มคดีโดยพนักงานอัยการ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2565). รายงานสถิติสำนวนคดีของสำนักงาน ป.ป.ท. ประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2565. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.pacc.go.th/index.php/home/view_ content/45/9329