แนวทางการจัดการความเป็นภาวะผู้นำในเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน ในมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

ก่ง จี
นิรันดร์ สุธีนิรันดร์
จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา
สหัทยา สิทธิวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความเป็นผู้นำในเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความเป็นผู้นำในเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 3)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความเป็นผู้นำในเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการสุ่มแบบเจาะจง มหาวิทยาลัยละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 480 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ อธิการบดีหรือรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน กลุ่มผู้ประเมินความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัย และผู้ที่มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ จำนวน 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการความเป็นผู้นำในเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการสนับสนุน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ส่วนด้านโครงสร้างของระบบราชการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และการจัดการความเป็นผู้นำในเชิงกลยุทธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ผู้บริหารมีกลวิธีในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแก่บุคลากร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะจะเป็นตัวที่ช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องในการดำเนินการตามนโยบายเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์แก่สถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรศักดิ์ ชนะบางแก้ว. (2555). บทบาทของผู้นำ ภาวะผู้นำมีบทบาท. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยภูมิปัญญามหาวิทยาลัยทักษิณ.

บัญชา อึ้งสกุล. (2545). ประสิทธิผลของผู้บริหารการศึกยาในยุคปฏิรูปการศึกษา. วิชาการ, 5(3), 22-23.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี หน้าที่ ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์การศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส.

อนุชิต วรรณสุทธิ์. (2546). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในอนาคต. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ (หน้า 2546). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1990). Manual for the Multifactor Leadership Questionnaire. Califormia: Consulting Psychologists Press.

Dubrin .J. (1998). Leadership research finding : Practice and skills. Boston Houghton: Miftlin Company.

Durin, A. J. (2004). Leadership : Research Findings, Practice, and Skills. 4 th ed. New York: McGraw - Hill.

House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support Reading. Mass: Addison-Wesley.

Weaver, Warren W. (1960). The process of communication. New York: Holt. RInchart and Winston.

Weber, M. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. Translated by A.M. Handerson and T. Parsons. New York: Free Press, 1947.