ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและพฤติกรรมการใช้งาน แอปพลิเคชัน oneD

Main Article Content

กัญญ์วรา หิรัญพานิช
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
วราพรรณ อภิศุภะโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน oneD 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย การรับรู้ความเพลิดเพลิน และกลุ่มอ้างอิงกับพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน oneD และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย การรับรู้ความเพลิดเพลิน และกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อพฤติกรรมการใช้งานงานแอปพลิเคชัน oneD โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน oneD ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยอาศัยการสุ่มตามสะดวกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลจากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปีมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน เมื่อจำแนกตามเพศจะพบว่าเพศจะมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน oneD ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้เมื่อจำแนกตามอายุ รายได้ ระดับการศึกษา และอาชีพจะมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน oneD แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย การรับรู้ความเพลิดเพลิน และกลุ่มอ้างอิงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน oneD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลร่วมกันต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน oneD มากที่สุด (β.413)

Article Details

How to Cite
หิรัญพานิช ก. ., ศศิธนากรแก้ว ศ., & อภิศุภะโชค ว. . (2023). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและพฤติกรรมการใช้งาน แอปพลิเคชัน oneD. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), 386–400. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268262
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณี เสือใหญ่. (2558). พฤติกรรมการใช้แอปพลิคชันไลน์ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ ของคนในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิรวัฒน์ วงศ์ธงชัย. (2555). ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติของผู้ใช้งานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สารนิพธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐชยา สงวนสุข. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้พ็อดคาสต์ของวัยทำงาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(4), 185-199.

ณัฐปภัสร์ ดาราพงษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking ไทย. ใน สารนิพธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พชร มิตานี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์และใช้งานกลุ่มตลาดนัดออนไลน์จากนิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ในเว็บไซต์เฟซบุ๊กอย่างต่อเนื่อง. ใน สารนิพธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภรภัทร ธัญญเจริญ. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2558). การยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SNS) ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Gen Y). วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(92), 65-79.

อัจฉรา เด่นเจริญโสภณ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกทัศน์ พานิชรักษาพงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการซื้อหนังสือผ่านช่องทางการจำหน่ายหนังสือออนไลน์ของร้านหนังสือนายอินทร์. ใน สารนิพธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Davis, F. D., et al. (1989). User acceptance of computer technology: a comparison of two theoretical models. Management science, 35(8), 982-1003.

Davis, F. D. (1985). Technology Acceptance Model for Empirically Testing New End-User Information Systems: Theory and Results. Retrieved June 20 , 2022, from http://hdl.handle.net/1721.1/15192

Everydaymarketing. (2022). Summary of 52 important insights from Thailand Digital Stat 2022 of We Are Social. Retrieved June 21, 2022, from https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/

Mgronline. (2022). Grammy sends application "oneD" to go online. Retrieved June 21, 2022, from https://mgronline.com/business/detail/9650000033093

PwC Thailand. (2021). PwC expects Thai media and entertainment industry revenue to reach 600 billion baht in 2025. Retrieved June 21, 2022, from https://www.pwc.com/th/en/press-room/press-release/2021/press-release-30-07-21-th.html