ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ชุมชนซอยสุเหร่า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ชุมชนซอยสุเหร่า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยการใช้วิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนในชุมชนซอยสุเหร่า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 161 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 8 – 22 พฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.1 มีอายุอยู่ระหว่าง 20 – 39 ซึ่งเท่ากันกับอายุ 30 – 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.0 โดยมีอายุต่ำสุด 20 ปี และอายุสูงสุด 65 ปี การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ชุมชนซอยสุเหร่า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 64.6 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.4 ตามลำดับ ไม่พบระดับน้อย ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value <0.05) ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และ ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนควรสื่อสารทำความเข้าใจและรณรงค์การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้ที่อายุมาก เพื่อกระตุ้นประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทิมา ห้าวหาญ. (2563). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
จุฑาวรรณ ใจแสน. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ใน วิทยานิพนธ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฏฐวรรณ คำแสน. (2563). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 4(1), 33-49.
ดรัญชนก พันธ์สุมา. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ คณะสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ระวิ แก้วสุกใส. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 67-79.
ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 . (2564). รายงานการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 . เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2564 จาก https//www.moph.go.th.
สำนักงานเขตราชเทวี. (2564). ข้อมูลชุมชนฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตราชเทวี. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2564 จาก https://webportal.bangkok.go.th/ratchathewi
อภิวดี อินทเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2) :19-30.
Daniel,W.W. (2010). Biostatistics:afoundation for analysis in the health sciences. (9th ed.) New Jersey: John Wily&Sons.
Zhong, B. L., et al. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745–1752.