การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศฯ 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศฯ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศฯ ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คนผู้บริหาร 2 คน ครู 22 คน นักเรียน 67 คน ของโรงเรียนดรุณวิทยาฯ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม แบบประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำข้อมูลจากการศึกษามาพัฒนารูปแบบการนิเทศฯ นำไปทดลองใช้ เก็บข้อมูลและสรุปผลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนดรุณวิทยา ฯ มีการปฏิบัติปัจจุบัน โดยรวมในระดับน้อย และมีความต้องการพัฒนา โดยรวมในระดับมากที่สุด 2) ได้รูปแบบการนิเทศฯ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไกของรูปแบบ 5D ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบ การนิเทศเชิงลึก การประเมินผลและรายงาน และการพัฒนา 4) แผนการดำเนินงาน 5) แนวทางการประเมินผล และ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3) ผลการใช้รูปแบบ การนิเทศฯ พบว่า 1) ครูมีความสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ 2) นักเรียนมีทักษะการคิดในระดับมาก ทักษะการแก้ปัญหาในระดับมาก และทักษะการใช้เทคโนโลยีในระดับมากที่สุด 3) ครูมีคุณลักษณะความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยรวมในระดับมากและ 4) ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศฯ โดยรวมในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Glatthorn A.A. Fox L.E. (1996). Quality Teaching Through Professional Development. California: Corwin Press,Inc.
Hord, S.M. & E.F. Tobia. (2012). Reclaiming Our Teaching Profession: The Power of Educators Learning in Community. New York: Teachers College Press.
Robinson, S.G. (2000). Teacher Job Satisfaction and Levels of Clinical Supervisionin Elementary Schools. Ph.D. Dissertation The University of Southern Mississippi. Retrieved November 19, 2020, from http://search.proquest.com/dissertations/docview/304626407?accountid=31098.
Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools. San Francisco: Jossey Bass.
Williamson, E.G. (1950). How to Counsel Student. New York: Mcgraw –Hill Book.
ขวัญหญิง ทิพแก้ว และคณะ. (2555). การสอนและการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารปาริชาต, 25(3), 75-84.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2562). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2562 จาก http://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/ pbl-he-58-1.pdf
โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล). (2561). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2561-2565. น่าน: โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน(บ้านสวนตาล).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. กรุงเทพมหานคร: อีเลฟเล่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์COVID-19. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุรัชดา ภูรับพา. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนบ้านพุทธรักษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 222-237.