การวิเคราะห์องค์ประกอบการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อศึกษาระดับองค์ประกอบการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี ในแต่ละองค์ประกอบจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของครูจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยจากผู้ตอบแบบสอบถาม 517 ฉบับ ซึ่งเป็นอัตราส่วน 1 : 11 คิดเป็นร้อยละ 91.67 จากแบบสอบถามทั้งหมด 564 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม Rating scale แบบ Likert scale ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .943 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และทดสอบค่าเอฟ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การใฝ่รู้ต่อสิ่งใหม่ ความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาผู้เรียน การมีอิสระในการทำงาน การสื่อสารเพื่อสร้างความท้าทาย และ การกำหนดเป้าหมายในวิชาชีพครู 2) ระดับการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ขนาดต่างกันมีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงานพบว่ามีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, 16(2), 266-280.
ธนพล บรรดาศักดิ์ และคณะ. (2559). การเป็นผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21: มุมมองจากอาจารย์และนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2), 175-189.
ธนายุ ขำละม้าย. (2549). กระบวนการพัฒนาวัฒนธรรม ความปลอดภัยของนักบินกองทัพอากาศ. ใน รายงานการวิจัย. โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ สถาบันวิชาทหารอากาศชั้นสูง กองบัญชาการศึกษา.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
พรรณิภา กิจเอก. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย = Multivaraite statistical analysis for research. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www. niets.or.th/th/catalog/view/3121
สมลักษณ์ มธุรสสุวรรณ. (2548). การศึกษาบรรยากาศการจักระบวนการเรียนรู้ของครูเอกชน สังกัดฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานครเขต 4. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2545). การใช้สถิติในการวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง จำกัด.
สุพิษ ชัยมงคล. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 10(18), 61-71.
Bonwell, C. & Eison, J. A. (1991). Active Learning : Creative Excitement in the Classroom. In ASHE-ERIC Higher Education Reports No. 1. Washington, D. C.
Hair, J. F. et al. (1998). Multivariate data analysis. (5th ed). NewJersey: Prentice.
Kotter, J. P. (1996). Leading Change. Boston: Harvard Business School Press.
Reason, J. (1997). Managing the Risks of Organizational Accidents. Hants: Ashgate.
Rogers, E. M. & Shoemaker, F. F. (1971). A Cross Cultural Approach. Communication of Innovation. (2nd ed.). New York: Free Press.
Satir, V. (1991). The Satir Model. California: Science and behavior books, Inc.