รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในประเพณีบุญบั้งไฟ

Main Article Content

ณรงค์ ภูเยี่ยมจิตร
เกียรติศักดิ์ ลาภสาร

บทคัดย่อ

          บุญบั้งไฟนับว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทรงคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยครอบคุมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว, กัมพูชา เป็นต้น โดยมีตำนานเรื่องเล่าที่มาจากนิทานวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องพญาคันคากกับ เรื่องผาแดงนางไอ่คำซึ่งในนิทานวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าวฯ ได้กล่าวขานถึงการที่นครรัฐ ผู้ปกครอง และประชาชนได้ร่วมกันจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพญาแถน (เทพวัสสกาล) เพื่อสามารถช่วยบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยเฉพาะทางการเกษตร และประเพณีบุญบั้งไฟได้เป็นมรดกอันล้ำค่าที่สืบทอดมาถึงคนรุ่นปัจจุบัน จากวรรณกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นปรากฎการณ์การบริหารความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองอีกรูแบบหนึ่งนั่นเอง ถึงแม้วรรณกรรมจะมีเค้าโครงที่มาแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดจบที่เหมือนกัน นั่นคือการทำสงครามทางการเมืองระหว่างกัน ผู้เขียนมองว่าวรรณกรรมได้สะท้อนแนวคิดและรูปแบบทางการเมืองการปกครองในหลายประเด็น เช่น แนวคิดด้านการปกครองของผู้นำนครรัฐผ่านหลักธรรมทางพุทธศาสนา, แนวคิดเรื่องของอำนาจและที่มาแห่งอำนาจ, รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง, แนวคิดสัญญาประชาคม, แนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ, แนวคิดทฤษฎีว่าด้วยความขัดแย้งกับรูปแบบการแก้ไขความขัดแย้ง, แนวคิดการสมานฉันท์ทางการเมือง และการเคารพกติกาการตัดสินทางการเมืองของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ส่วนประเด็นของสาระทางแนวคิด ความรู้เชิงการเมืองและการจัดการภาครัฐในวรรณกรรมเหล่านี้ นักวิชาการ นักการเมืองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำมาบูรณาการและประยุกต์ใช้ได้ไม่มากก็น้อยตามบริบทของสถานการณ์ทางการเมืองการปกครองระดับชาติและระดับท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทัชชัย ดวงมีวัน. (2562). ตำนานเรื่องพญาคันคาก. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2562 จาก https://sites.google.com/site/asdfggfdsasdf/a

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ และคณะ. (2554). รื้อสร้างประเพณี: การเปลี่ยนแปลงของบุญบั้งไฟ ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง, 7(2), 27-48.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2542). การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: ว.สกุลเพ็ชรการพิมพ์.

วรเชษฐ์ โทอื้น. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: International Relationships. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ยโสธร: สยามปริ้นติ้ง.

วิกิพีเดีย. (2562). ตำนานผาแดงนางไอ่. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2562 จาก https://th.wikipedia.org

. (2562). ตำนานพระยาคันคาก. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2562 จาก https://th.wikipedia.org

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2562). ระบบอุปถัมภ์มาจากการเมืองแบบเครือญาติทั้งในไทยและอุษาคเนย์. เรียกใช้เมื่อ 7 มิถุนายน 2562 จาก https://www.matichon.co.th

อรุณ รุ่งธรรม. (2526). เทศบาลในสมัยพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง.

Almond, A. et al. (1966). Comparative Politics: A development Approach. Boston: Little Brown.

Barber, J. D. (1972). Citizen Politics. Chicago: Markham.

Beck, U. et al. (1994). Reflexive Modernization: Politics, Tradition and Aesthetics in the Modern Social Order. Cambridge: Polity Press.