ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้า จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พิชญาภรณ์ บัวสระ
ธนกฤต ทุริสุทธิ์
กฤตติกา แสนโภชน์

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู และ 3) เพื่อทดลองและสรุปผลการทดลองยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ ระยะที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 18 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 กำหนดยุทธศาสตร์ฯ และประเมินยุทธศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 13 คน ใช้แบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ระยะที่ 3 ใช้กลุ่มเป้าหมาย 1 กลุ่ม 30 คน ใช้แบบประเมินเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาและความต้องการเพิ่มมูลค่าผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผู้วิจัยจึงนำผลการสังเคราะห์ข้อมูลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ ด้านบุคลากร และด้านภาพลักษณ์ ไปจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู

  2. ผลการกำหนดยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองสู่สากล 2) พัฒนาการบริการอย่างครบวงจร 3) เสริมสร้างศักยภาพบุคลกรในหลายช่วงวัย 4) ส่งเสริมภาพลักษณ์ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง

  3. ผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู โดยได้นำยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมภาพลักษณ์ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ไปทดลอง 1 กิจกรรมกับกลุ่มผ้าทอหมี่ขิดบ้านโนนงาม ในการค้นหาอัตลักษณ์ผ้าจังหวัดหนองบัวลำภู และสรุปผลการทดลองกิจกรรมได้ 4 ข้อ ได้แก่ 1) ผ้าและลวดลาย 2) วิถีการทอผ้า 3) สีสันของผ้า 4) นวัตกรรม

Article Details

How to Cite
บัวสระ พ., ทุริสุทธิ์ ธ., & แสนโภชน์ ก. (2020). ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้า จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5259–5271. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/225058
บท
บทความวิจัย

References

จงลักษณ์ ช่างปลื้ม. (2554). การเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมชุมชนไทยโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2554). แนวคิดหลังสมัยการย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 20-23.

ดนัย จันทร์ฉาย. (2547). เจาะลึกการตลาดจาก A ถึง Z: แนวคิดที่ผู้จัดการทุกคนต้องรู้ซึ้ง. กรุงเทพมหานคร: ดีเอ็มจี.

พูนลาภ ทิพชาติโยธิน. (2553). Value-Added Activities เพิ่มลูกค้าด้วยกิจกรรมเพิ่มมูลค่า. วารสาร Productivity World มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 15(85), 87-89.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2547). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบัน ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2546). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยอนุเคราะห์ไทย.

วันชัย มีชาติ. (2556). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู. (2554). ลวดลายไหม เอกลักษณ์ผ้าไทย จังหวัด หนองบัวลำภู. อุดรธานี: เพื่อนศิลป์.

สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู. (2561). หนองบัวลำภู OTOP นวัตวิถีชุมชนคนลุ่มภู. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

สำนักนโยบายและแผน. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

สิรยา คงสมพงษ์. (2557). รายงานผลสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารภาครัฐ หลักสูตรการสร้างมูลค่าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ. กรุงเทพมหานคร: เอพีเอ็ม กรุ๊ป.

สุภีร์ สมอนา. (2559). สังคมวิทยาอีสาน. อุดรธานี: สำนักพิมพ์ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.

อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2542). คำอธิบายลักษณะวิชาทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.