กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทย

Main Article Content

อัครพงศ์ กรมพลาศักดิ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เป็นปัจจัยข้อจำกัดต่อการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทย 2) เหตุผลที่ผู้บริหารต้องการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทยในอนาคต และ 3) แบบจำลองกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย 48 ท่าน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ มีค่าความเชื่อถือครอนบรัคอัลฟ่า 0.98 ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิเชิงนโยบาย กฎหมาย การผลิตและส่งออกข้าว และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการจำแนกเชิงชั้นตามขั้นตอน (discriminant hierarchical analysis by stepwise)


          ผลการวิจัยพบว่า


          1) ปัญหาข้อจำกัดต่อการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทย คือ ต้นทุนผลผลิตต่อไร่ และการจัดการคน เทคโนโลยีและทรัพยากรที่มีอยู่ ส่วนอุปสรรคคือ ระบบชลประทาน เงื่อนไขตลาดของคู่แข่งและความรุนแรงของการแข่งขันราคา 2) ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยส่วนใหญ่ต้องการ พัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทยในอนาคตเพื่อเพิ่มยอดขายและกำไรมากขึ้น 3) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทย ประกอบ ปัจจัยมาตรฐานการส่งออก ปัจจัยเครือข่ายพันธมิตร ปัจจัยนวัตกรรมเทคโนโลยี ปัจจัยทักษะความสามารถ และปัจจัยกลยุทธ์การแข่งขันในอนาคต นำมาสร้าง 2 แบบจำลองพยากรณ์คือ อัตราการเติบโตของยอดขายและอัตรากำไร ที่พยากรณ์ความถูกต้องได้ถึงร้อยละ 95.8 และร้อยเปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แสดงด้วยสมการที่ใช้สร้างเครื่องมือวัดศักยภาพของอุตสาหกรรม และรูปภาพของกลยุทธ์ 4 + 1 พัฒนาใช้เพิ่มอัตราการเติบโตของขอดขายและกำไรในอนาคต

Article Details

How to Cite
กรมพลาศักดิ์ อ. (2019). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมส่งออกข้าวไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4645–4657. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/224223
บท
บทความวิจัย

References

เชฐชุดา เชื้อสุวรรณ. (2561). อุตสาหกรรมข้าว แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2561 จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/578889e0-fc28-4e20-bc48-31f0dbe04a3d/IO_Rice_2018_TH.aspx.

นิพนธ์ พัวพงศกร. (2556). ยุทธศาสตร์ข้าวไทย การวิจัยพัฒนาข้าวไทยและการมองไปข้างหน้า. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2560 จาก https://elibrary.trf.or.th/project_ content.asp?PJID=RDG5420058.

บุญฤทธิ์ กัลยาณมิตร. (2562). ภาพรวมสถานการณ์ข้าวของโลกปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.aseanthai.net/ewt _news.php?nid=7876 &filename=index

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 135 ตอนที่ 82 ก. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 .

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (2559). ประวัติสมาคมส่งออกข้าวไทย Thai Rice Exporters Association. เรียกใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2559 จาก http://www.thairiceexporters. or.th/background_th.htm.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). การศึกษาผลกระทบของราคาส่งออกข้าวไทยและประเทศคู่แข่งที่มีต่อความต้องการนำเข้าข้าวจากไทย. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2560 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINF OCENTER5/\DRAWER094/GENERAL/DATA0000/00000851.PDF.

สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.