กลยุทธ์การเสริมสร้างความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ศรวิษฐ์ ฤทธิ์มนตรี
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้าง ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 46,873 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ซึ่งได้มาจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่มอร์แกน (Krejcie and Morgan) จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน และครูผู้สอน จำนวน 365 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินองค์ประกอบ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นและ PNImodified


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย  1) ด้านความรู้ความสามารถ 2) ด้านทักษะภาวะผู้นำ 3) ด้านผู้นำทางวิชาการ 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 5) ด้านทักษะยุคใหม่ 6) ด้านคุณลักษณะ 7) ด้านผลการปฏิบัติการ

  2. สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.42, S.D.=.41) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.70,S.D.=.17)

  3. กลยุทธ์การเสริมสร้างความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ ได้แก่   กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับผลการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ มี 5 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร มี 6 มาตรการ 12 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 มี 4 มาตรการ 6 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมทักษะยุคใหม่ มี 5 มาตรการ 7 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 5 ยกระดับทักษะภาวะผู้นำ  มี 5 มาตรการ 8 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 6 ยกระดับด้านความรู้ความสามารถ มี 4 มาตรการ 8 ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 7 ยกระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการ มี 7 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด

Article Details

How to Cite
ฤทธิ์มนตรี ศ., & รู้ยืนยง ว. (2019). กลยุทธ์การเสริมสร้างความเป็นผู้บริหารมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4364–4381. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/223450
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 12(34), 51-66.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ (เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2559). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) : สรุปย่อ/คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ.

ปิยพจน์ ตุลาชม และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พรศรี ฉิมแก้ว. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา เฉลียวชาติ. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 5(1), 65-72.

ลานนิพนต์ เกษลา. (2557). ยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 187-194.

สาริศา เจนเขว้าและเสวียน เจนเขว้า. (2560). การเป็นนักบริหารมืออาชีพในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 267-276.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2556). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2561). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 26 มกราคม 2562 จาก https://sites.google.com/a/kksec.go.th/ policyandplanninggroup/

สุบัน มุขธระโกษา และคณะ. (2561). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 453 - 461.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). การเรียนการสอนในยุคโลกาภิวัตน์: เอกสารทางวิชาการ. เรียกใช้เมื่อ 21 มิถุนายน 2555 จาก https://www.addkutec3 .com/

Girvan, N. (2001). New Caribbean thought: A reader edited by Brian Meeks and Folke Lindah. Jamaica: The University of the West Indies Press.

Neill MacNeill et al. (2003). Pedagogic Principal Leadership. Management in Education, 17(4), 14-17.

Reynolds, D. et al. (1994). Advances in School Effectiveness Research and Practice. Oxford: Pergamon Press.