รูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตนเองตามแนวคิดพฤฒพลัง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

Main Article Content

นารีรมย์ รัตนสัมฤทธิ์
เรณุมาศ มาอุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตามแนวคิดพฤฒพลัง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุตามแนวคิดพฤฒพลัง และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตามแนวคิดพฤฒพลัง เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุตอนต้น อายุระหว่าง 60 - 70 ปี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุตอนต้น จากทั้ง 4 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 1 จังหวัด (จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดสงขลา) และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 5 เขตพื้นที่ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,814 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตามแนวคิดพฤฒพลัง พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก จำนวน 972 คน คิดเป็นร้อยละ 53.60 รองลงมาคืออยู่ในระดับน้อย จำนวน 785 คน คิดเป็นร้อยละ 43.30 และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 3.10

  2. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองตามแนวคิดพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามแนวคิดพฤฒพลัง ปัจจัยภายในตัวบุคคล ประกอบด้วย 3 ตัวแปร พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 45.70 ระดับการรับรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40.20 และ 3 ทัศนคติต่อการเป็นสูงอายุส่วนใหญ่ มีทัศนคติต่อการเป็นสูงอายุ อยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 39.00 ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลสุขภาพตามแนวคิดพฤฒพลัง พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 42.90

  3. รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตามแนวคิดพฤฒพลัง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ 1) แนวคิดและหลักการสำคัญของรูปแบบฯ  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบฯ 3) เนื้อหาของรูปแบบฯ 4) กระบวนการดำเนินการตามรูปแบบฯ 5) การประเมินผลและติดตามผล

Article Details

How to Cite
รัตนสัมฤทธิ์ น., & มาอุ่น เ. (2019). รูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตนเองตามแนวคิดพฤฒพลัง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4455–4472. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/223446
บท
บทความวิจัย

References

นงเยาว์ มีเทียนและอภิญญา วงศ์พิริยโยธา. (2561). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังในผู้ใหญ่วัยกลางคนเขตกึ่งเมือง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 124-130.

บุญนาค ปัตถานัง . (2556). ระบบการส่งเสริมสุขภาพให้เป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลัง ในเขตตำบลโนนอุดม อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14 (Graduate Research Conference 2013 Khon Kaen University). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปณิธี บราวน์. (2557). พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและทุนที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงวัย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 31(3), 97-120.

พระมงคลธรรมวิธาน และประสิทธิ์ สระทอง. (2560). ผู้สูงอายุกับการปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม. วารสาร Veridian E-Journal, 10(3), 1862.

วิไลพร วงค์คีนี และคณะ. (2556). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสาร, 40(4), 91-99.

ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 39-48.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย (Active Ageing Index of Thai Elderly). เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2561 จาก https://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/domographic/Active%20Ageing/Active%20Ageing%20Index.pdf

หฤทัย กงมหา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤฒพลังในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม(ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาลครั้งที่ 25), 54-61.

อนุสรณ์ อุดปล้อง และคณะ. (2556). ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(1), 68-79.

UNECE. (2012). Active Ageing and Quality of Life in Old Age. New York And Geneva: United Nations.

World Health Organization. (2002). Active ageing: Apolicy frame work. Retrieved November 4, 2018, from https://www.unati.uerj.br/doc_gov/destaque/Madri2.pdfAgeing